top of page

ปั๊มสระว่ายน้ำเป็นอย่างไร คำนวณอย่างไร ?

Kong

Updated: Feb 25


ปั๊มสระว่ายน้ำและวิธีการคำนวณ
ปั๊มสระว่ายน้ำและวิธีการคำนวณ

ปั๊มสระว่ายน้ำ เป็นหัวใจสำคัญสำหรับทุกๆสระว่ายน้ำ โดยการทำงานหลัก ๆ ของปั๊มสระว่ายน้ำ คือ ปั๊มจะดึงน้ำจากสระน้ำผ่านตัวสกิมเมอร์และท่อระบายหลัก ดันน้ำผ่านตัว กรองด้านขาออก และส่งกลับเข้าสระผ่านทางท่อส่ง โดยตัวกรองตัวดักเศษผมและเศษผ้า มอเตอร์ไฟฟ้า สามารถระบายความร้อนด้วยอากาศและไม่ควรให้น้ำกระเด็นเข้าสู่มอเตอร์เพราะจะทำให้เกิดความเสีนหายได้


ในการเลือก ปั๊มสระว่ายน้ำ ให้เหมาะสมถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ระบบการกรองน้ำในสระว่ายน้ำนั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้น้ำในสระสะอาดเท่านั้น แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าซ่อมบำรุง ด้วยเช่นกัน ถ้าหากว่า ปั๊มสระว่ายน้ำ ที่เลือกมีขนาดไม่เหมาะสมอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆได้ เช่น น้ำไม่สะอาด , มีการสะสมของสิ่งสกปรก , ค่าไฟฟ้าแพง , หรือการสึกหรอของอุปกรณ์ที่เร็วขึ้น เพราะฉนั้นการเลือกปั๊มสระว่ายน้ำ ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ


ปั๊มสระว่ายน้ำเป็นอย่างไร ? คำนวณอย่างไร ?

ปริมาณน้ำในสระว่ายน้ำ และสำหรับสระน้ำที่มีน้ำตก น้ำพุ หรือระบบพ่นน้ำ เราอาจจะต้องบวกเพิ่มปริมาณน้ำในระบบเพิ่มเติมประมาณ 5-10% ของปริมาตรน้ำทั้งหมด เพื่อให้ปั๊มสระว่ายน้ำสามารถรองรับการไหลเวียนของน้ำในระบบเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรต่าง ๆ ตามรูปร่างของสระว่ายน้ำดังนี้


  • สระว่ายน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า : กว้าง x ยาว x ความลึกของสระ x 7.5 = ปริมาตร (แกลลอน)

  • สระว่ายน้ำรูปทรงกลม : เส้นผ่านศูนย์กลางของสระ ÷ 2 เพื่อให้ได้รัศมีของสระ หลังจากนั้นให้ใช้สูตร 3.14 × รัศมีที่หาร 2 แล้ว × ลึก × 7.5 = ปริมาตร (แกลลอน)


ปั๊มสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำสี่เหลี่ยม
Swimming Pool Pump
สระว่ายน้ำวงกลม














การคำนวณอัตราการไหลของ ปั๊มสระว่ายน้ำ (Flow Rate)


อัตราการไหลของ ปั๊มสระว่ายน้ำ (Flow Rate) หมายถึงปริมาณน้ำที่ ปั๊มสระว่ายน้ำ สามารถสูบได้ในระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปเราควรให้ปั๊มสระว่ายน้ำสามารถหมุนน้ำในสระว่ายน้ำทั้งหมดได้ใน 8 ชั่วโมง เพื่อรักษาความสะอาดและสมดุลของน้ำในระบบ เราจะสามารถคำนวณอัตราการไหลที่ต้องการได้จากสูตร:

 

ตัวอย่าง : สระว่ายน้ำ ที่มีปริมาตร 75,000 ลิตร และต้องการหมุนเวียนน้ำภายใน 8 ชั่วโมง

ในกรณีที่ต้องการการกรองน้ำที่รวดเร็วขึ้น เช่น สำหรับสระที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก อาจพิจารณาใช้เวลาในการหมุนเวียนที่สั้นลง

เช่น 6 ชั่วโมง เพื่อให้การกรองน้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการเลือกปั๊มสระว่ายน้ำที่มีขนาดใหญ่เกินไปอาจทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเลือกปั๊มสระว่ายน้ำที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้ดีมากกว่าคุณควรคำนึงถึงการไหลเวียนเพิ่มเติมที่อาจจำเป็นสำหรับอุปกรณ์เสริม เช่น ระบบน้ำตกหรือพ่นน้ำ ซึ่งต้องการอัตราการไหลเพิ่มเติมประมาณ 10-15% จากที่คำนวณไว้ เพื่อให้ระบบทั้งหมดทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด อัตราการไหล คือ ปริมาณน้ำที่ปั๊มสระว่ายน้ำสามารถหมุนเวียนในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ได้ทั้งหมด เช่น ระบบควรหมุนเวียนน้ำทั้งหมดในสระได้ภายใน 8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไปนั่นเอง

 

สูตรการคำนวณ

อัตราการไหล (ลิตร/ชั่วโมง) = ปริมาตรน้ำในสระว่ายน้ำ (ลิตร) ÷ ระยะเวลาการหมุนเวียน (ชั่วโมง) อัตราการไหล (ลิตร/ชั่วโมง) = ปริมาตรน้ำในสระ (ลิตร) \div ระยะเวลาการหมุนเวียน (ชั่วโมง) อัตราการไหล (ลิตร/ชั่วโมง) = ปริมาตรน้ำในสระว่ายน้ำ (ลิตร) ÷ ระยะเวลาการหมุนเวียน (ชั่วโมง)

 

ขั้นตอนการคำนวณ

Q = อัตราการไหล (ลิตร/ชั่วโมง หรือ ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง)V = ปริมาตรของสระว่ายน้ำ (ลิตร หรือ ลูกบาศก์เมตร)T = เวลาในการหมุนเวียนน้ำ 1 รอบ (ชั่วโมง)

 

คำนวณปริมาตรสระว่ายน้ำ (V)

V = ความยาว×ความกว้าง×ความลึกเฉลี่ย หากปริมาตรคิดเป็นลูกบาศก์เมตร ให้คูณด้วย 1,000 เพื่อแปลงเป็นลิตร (1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร)


กำหนด เวลาในการหมุนเวียนน้ำ (T)

เวลาในการหมุนเวียนน้ำของสระว่ายน้ำโดยทั่วไป :

  • สระว่ายน้ำทั่วไป 6-8 ชั่วโมง

  • สระสำหรับเด็ก 2-4 ชั่วโมง

  • สระในโรงแรม/สาธารณะ 4-6 ชั่วโมง

 

คำนวณ Flow Rate (Q)

นำค่าปริมาตรของสระ (V) หารด้วย เวลาในการหมุนเวียนน้ำ (T)

 

การพิจารณาปัจจัยอื่นๆ
Criteria Swimming Pool Pump
Criteria

นอกจากอัตราการไหลแล้ว ก้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยเช่นกัน เพื่อให้ระบบสระว่ายน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


  • แรงเสียดทานในระบบท่อ : หากสระว่ายน้ำมีระบบท่อที่ยาวหรือโค้งมาก จะทำให้เกิดแรงต้านการไหลของน้ำ คุณอาจต้องเลือก ปั๊มสระว่ายน้ำที่มีกำลังเพิ่มขึ้น หรืออาจจะใช้ท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อลดแรงเสียดทาน


  • ประเภทตัวกรอง : ตัวกรองแต่ละประเภท เช่น ทราย เซรามิก หรือกระดาษ ก็มีข้อกำหนดแรงดันน้ำที่แตกต่างกัน ตัวกรองทรายมักต้องการแรงดันสูงกว่า ในขณะที่ตัวกรองเซรามิกมีข้อดีในเรื่องของการกรองที่ละเอียดกว่า แต่ต้องการการบำรุงรักษามากขึ้น


  • ระยะห่างระหว่างปั๊มและสระว่ายน้ำ : ระยะห่างมีผลต่อประสิทธิภาพของปั๊มสระว่ายน้ำ หากปั๊มตั้งอยู่ไกลจากสระว่ายน้ำ เราอาจต้องเพิ่มกำลังของปั๊มน้ำ หรือใช้ท่อที่ลดแรงเสียดทานเพื่อชดเชยการสูญเสียแรงดัน


  • สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม : หากสระว่ายน้ำอยู่ในพื้นที่ที่มีลมแรง ฝุ่นละออง หรือต้นไม้เยอะ ควรเลือกปั๊มสระว่ายน้ำที่มีความสามารถในการหมุนน้ำได้บ่อยขึ้น เพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ นอกจากนี้ อาจต้องใช้อุปกรณ์กรองเสริม เพื่อป้องกันเศษใบไม้หรือฝุ่นเข้าสู่ระบบนั่นเอง


  • อุณหภูมิของน้ำ : หากสระว่ายน้ำนั้นมีระบบทำความร้อน , น้ำอุ่น อาจจะมีผลต่อความหนืดและการไหลของน้ำ เราอาจต้องเลือกปั๊มสระว่ายน้ำที่รองรับต่ออุณหภูมิของเหลวได้มากขึ้น


  • การใช้งานเพิ่มเติม : หากสระว่ายน้ำมีการทำเพิ่มเติม เช่น น้ำตก น้ำพุ หรือระบบสปา อาจต้องเพิ่มปั๊มหรือเลือกปั๊มน้ำที่รองรับกับการไหลเวียนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



ตัวกรองทรายหรือตลับ 

ถังทรายกรองสระว่ายน้ำ
Sand Tank

รุปแบบไส้กรองอาจจะเป็นการกรองดินเบา (DE) ไส้กรองสำหรับทราย หรือไส้กรองแบบตลับ โดยในส่วนของไส้กรอง DE จะมีราคาแพงที่สุด แต่ได้น้ำในสระที่สะอาดสุดเหมือนกัน

 ไส้กรองแบบตลับนั้นดูแลได้ง่าย ถ้าเราทำความสะอาดทุก 4 ถึง 6 เดือน ตัวกรองนั้นก็จะมีอายุการใช้งาน 2 - 4 ปี ส่วนตัวกรองทรายนั้นมีราคาถูกที่สุด แต่ไม่สามารถกรองน้ำได้ดีเหมือนแบบ DE และตัวกรองประเภทอื่นๆ

 

 



การติดตั้ง ปั๊มสระว่ายน้ำที่ถูกต้อง 


การติดตั้งตัวเครื่องปั๊มน้ำ ควรที่จะทำการติดตั้งให้อยู่ภายในบริเวณสระน้ำ หรือให้ใกล้สระน้ำมากที่สุดและจัดวางเอาไว้ในที่ที่เหมาะสม รวมถึงควรมีความมั่นคงแข็งแรงเพื่อเป็นไปตามความปลอดภัยกับผู้ใช้งาน การเลือกเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำที่ ใช้ควรมีขนาดใหญ่กว่าหรือเท่ากับท่อน้ำผั่งขาออกของปั๊มน้ำ หากเป็นไปได้ควรจะใช้ท่อดูดขนาดเส้นผ่าสูญกลางไม่เล็กกว่า 2 นิ้ว 

รางรับน้ำที่ล้นออกมาควรจะมีความลึกอยู่ที่ 20 cm 


ปั๊มสระว่ายน้ำ Leo XKP
ปั๊มสระว่ายน้ำ
ส่วนการคำนวณพื้นที่สำรองน้ำกรณีที่มีผู้ลงใช้งานเต็มสระดังนี้ :
  •  ต่อ 1 คนจะใช้พื้นที่ 1 ตรม.


  • 1 คน จะแทนที่น้ำ ประมาณ 75 ลิตร


  • 75 x จำนวนคนที่ลงเต็มสระ = ส่วนของน้ำที่ต้องเตรียมพื้นที่สำรอง


  • สระส่วนตัวต่อ 1 คนใช้จะพื้นที่คิดเป็น 2 ตรม. / 1 คน จะมีปริมาตรแทนที่น้ำอยู่ที่ประมาณ 75 ลิตร 75 x จำนวนคนที่ลงเต็มสระ ทำการคำนวนตามสูตร ( ขนาดสระ (ตรม.) ÷ 2 ) = น้ำที่ต้องเตรียมพื้นที่สำรอง


" สุดท้ายนี้หวังว่าผู้ที่ต้องการใช้งานปั๊มสระว่ายน้ำ จะได้ความรู้กันไปไม่มากก็น้อยนะครับ ... 
และอย่าลืมคำนึงถึงลักษณะการใช้งานให้ถูกประเภท และบริการหลังการขายของแบรนด์นั้นๆด้วยจ้า "


ข้อมูลเพิ่มเติม


Tel. 02-292-1067-70

Line Official : @775ruust

Facebook : LEOpumpThailand 

TikTok : Leopumpthailand 

Comments


Contact Us

Products & Support

  • Domestic Pump

  • Commercial Pump

  • Industrial Pump

  • Warranty Registration

  • Selection Program

  • Find a Dealer

LEO (Thailand) Co.,Ltd

897-897/1 Floor 1, Kamthorn Building, Rama III Rd, Bang Phong Phang, Yan Nawa, Bangkok 10120

บริษัท ลีโอ ( ประเทศไทย ) จำกัด

897-897/1 อาคารกำธร ชั้น1, ถนนพระราม 3, แขวงบางโพงพาง, เขตยานนาวา, กทม. 10120

Tel : +66(0) 2-292-1067 ถึง 69

Fax : +66(0) 2-292-1070

Mon - Fri :

8:30 am  – 17:45  pm

Copyright 2023 LEO Thailand Co., Ltd. All Rights Reserved

bottom of page