top of page

การเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสม เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายไปกว่าครึ่ง

Updated: Sep 18


การเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสม เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายไปกว่าครึ่ง
การเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสม เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายไปกว่าครึ่ง

สำหรับการเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสมนั้น ผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านหลายคนอาจยังสับสนว่าเราจะเลือกใช้ปั๊มน้ำขนาดไหนดี แต่ทั้งนี้ก็ได้มีการกำหนดข้อมูล แนวทางการเลือกปั๊มน้ำแบบคร่าวๆเอาไว้อยู่แล้ว เช่น บ้าน 1 ชั้น ควรใช้ปั๊มน้ำประมาณ 150 w , บ้าน 2 ชั้น 250 w , และ บ้าน 3-4 ชั้น 400 w เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ผู้ผลิตแต่ละรายนำมาเป็นแนวทางนั้น ก็มาจากการประมาณอัตราการใช้น้ำของอาคารแต่ละประเภท ประกอบกับระยะทางการใช้งานนั่นเอง ปัจจุบันตามท้องตลาดทั่วไปเรามักจะเอาขาดของมอเตอร์หรือกำลังวัตต์เป็นที่ตั้ง แต่ขนาดมอเตอร์นั้นไม่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของการไหลของน้ำอย่างที่เข้าใจกัน ดังนั้นผู้ใช้หรือเจ้าของบ้านควรคำนวณหาขนาดของปั๊มน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งานเบื้องต้นเสียก่อน ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ขนาดมอเตอร์หรือกำลังวัตต์ ดังนี้ 1. คำนึงถึงจำนวนจุดใช้น้ำ และปริมาณน้ำที่ต้องการใช้พร้อมกันภายในบ้านทั้งหมด ว่ามีปริมาณกี่ลิตร/นาที โดยทั้งนี้เราต้องคำนึงถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ด้วย เช่น ฝักบัว , ก๊อกสนาม , และอื่นๆ กะประมาณคร่าวๆเอาได้

2. จำนวนคนที่พักอาศัย จะได้ทราบถึงปริมาณน้ำที่ใช้ จึงจะเลือกปั๊มน้ำที่จะใช้ได้อย่างเหมาะสม

3. ระยะทางและความสูงในการส่งน้ำ เพื่อที่จะได้นำไปเปรียบเทียบกับสเป็คอัตราการจ่ายน้ำของปั๊มน้ำนั้นๆในการเลือกซื้อ
คราวนี้เราลองมาดูตัวอย่างของการเลือกซื้อปั๊มน้ำกันบ้าง ถ้าเรามีบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ความสูงโดยประมาณของจุดจ่ายน้ำจะมีระยะประมาณ 7 เมตร และมีก๊อกน้ำภายในบ้านทั้งหมด 6 จุด และประมาณว่าจะใช้ก๊อกน้ำพร้อมกันทั้งหมด 3 จุด เราก็จะได้ดังนี้ 1. เรื่องของระยะส่งของปั๊มน้ำ ในกรณีนี้ความสูงถึงจุดที่ต้องการจ่ายน้ำประมาณ 7 เมตร เราควรเผื่อค่าแรงเสียดทานต่างๆ เช่น การใช้ท่อลด ข้อลด หรือข้องอต่างๆ ซึ่งจะทำให้กำลังการส่งตกลงไป ดังนั้นเราจึงควรเผื่อไว้ 30% ดังนั้นเราควรเลือกใช้ปั๊มน้ำที่มีระยะส่งไม่น้อยกว่า 9 เมตร นั่นเอง 2. ปริมาณน้ำที่จ่ายได้ (ลิตร/นาที) เราควรพิจารณาถึงการใช้น้ำพร้อมกันทั้งบ้าน และในที่นี้เรามีโอกาสใช้น้ำพร้อมกัน 3 จุด ซึ่งตามปกติก๊อกน้ำมีอัตราการจ่ายน้ำประมาณ 9 ลิตร/นาที ( โดยการคำนวณปริมาณน้ำในที่นี้เป็นการประมาณการเท่านั้นเนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้นั้นต่างกัน ทั้งนี้ถ้าต้องการความแม่นยำถูกต้องเราสามารถตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้จากฉลากที่ติดมากับตัวอุปกรณ์นั้นๆ ) ดังนั้นจากการประมาณการปริมาณน้ำขั้นต่ำที่บ้านหลังนี้ใช้พร้อมกัน คือ 27 ลิตร/นาที
ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ระบบ Inverter ประหยัดพลังงาน


ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ระบบ Inverter ประหยัดพลังงาน คือ รอบมอเตอร์จะหมุนตามปริมาณน้ำที่ใช้ เปรียบเทียบให้เห็นภาพ คือ เมื่อเราหรี่ก๊อกหรือเปิดใช้น้ำเบาๆ มอเตอร์ก็จะหมุนเบาเช่นกัน ( ใช้รอบหมุนน้อย )ทันทีที่เปิดก๊อกแรงมอเตอร์ก็จะทำงานเต็มกำลัง ขนาดของปั๊มน้ำอัตโนมัติมีตั้งแต่ 100-400 วัตต์ สำหรับ 100–150 วัตต์ เหมาะกับบ้านที่มีผู้อาศัย 2-3 คน แต่ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ อาจจะใช้ปั๊มอินเวอร์เตอร์ ขนาด 450 วัตต์ และ ที่จะควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า มีระบบอิเล็กทรอนิกคำนวณการใช้น้ำ เช่น ปั๊ม 450 วัตต์ ถ้าเราเปิดใช้น้ำแค่จุดเดียวจะกินไฟแค่ 120 วัตต์ เปิดน้ำพร้อมกัน 4 จุด จะกินไฟ 450 วัตต์ เปรียบเทียบกับปั๊มทั่วไปขนาด 450 วัตต์ เปิดน้ำจุดเดียวก็กินไฟ 450 วัตต์ทันที ดังนั้นระบบอินเวอร์เตอร์จึงช่วยเราประหยัดค่าไฟนั่นเอง รวมถึงปั๊มอัตโนมัติจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ปั๊มมีถังแรงดันอากาศ แบบที่ 2 ปั๊มแรงดันคงที่ สำหรับปั๊มมีถังแรงดันอากาศ ข้อดีคืออายุการใช้งานนานกว่า แต่ข้อเสีย คือ อาจจะต้องมีการเติมลม หรือเมื่อเป็นสนิมภายในเราอาจจะต้องเปลี่ยนถังใหม่ทั้งถัง (ราคาไม่สูง) ส่วนปั๊มแรงดันคงที่ ข้อดีคือถ้าเราเปิดน้ำ 4 จุดพร้อมกัน แรงดันน้ำจะไหลเท่ากันทั้ง 4 จุด ไม่ว่าก๊อกน้ำจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลัง ถ้าเทียบทั้งสองแบบที่วัตต์เท่ากัน ปั๊มแรงดันอากาศจะจ่ายน้ำได้แรงกว่า
แล้วแท็งน้ำล่ะ จำเป็นแค่ไหน ??
เมื่อเราเลือกปั๊มน้ำที่ต้องการได้แล้ว จะต้องซื้อแท้งก์น้ำเพิ่มมั้ย? เลือกแท้งก์น้ำขนาดเท่าไหร่? วัสดุแบบไหน?

ให้เรามาพิจารณาตามนี้ครับ


1. ความสามารถการเก็บสำรองน้ำประปาไว้ใช้งานในบ้าน กรณีที่น้ำไม่ไหลหรือมีเหตุฉุกเฉิน เช่น มีการปิดน้ำเพื่อเดินท่อประปา(ท่อเมนของการประปาฯ) หรือซ่อมท่อประปา เกิดอุบัติเหตุท่อส่งประปาแตกเสียหายทำให้ไม่สามารถส่งน้ำประปามาได้ หรือแม้กระทั่งไฟดับแล้วปั๊มน้ำไม่ทำงาน เราก็ยังคงมีน้ำสำรองจากแท็งก์น้ำไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน


2. ช่วยพักน้ำ ช่วยให้มีการตกตะกอนของสิ่งแปลกปลอมที่อาจหลุดรอดเข้ามากับน้ำ (สิ่งแปลกปลอมอาจหลุดรอดเข้ามาในระหว่างทางที่มีการตัดต่อท่อประปาหรือมีการซ่อมท่อประปา ก่อนที่น้ำประปาจะมาถึงบ้าน)

3. ช่วยประหยัดค่าไฟได้ เนื่องจากเมื่อน้ำเต็มแท็งก์ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดปั๊มน้ำ ทำให้ปั๊มไม่ต้องทำงานตลอดเวลาที่ใช้น้ำ


หลักๆเราแบ่งแท็งค์น้ำออกเป็น 2 แบบ ซึ่งก็คือ แท็งค์น้ำที่อยู่บนดินและแท็งค์น้ำที่อยู่ใต้ดิน


• สำหรับแท็งค์น้ำบนดินนั้นจะเหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่พอสมควร โดยถังเก็บน้ำที่ได้รับความนิยมสำหรับการติดตั้งลักษณะนี้คือ แท็งก์น้ำสเตนเลสและแท็งก์น้ำพลาสติกชนิดติดตั้งบนดิน ข้อดีคือดูแลรักษาง่ายและ เคลื่อนย้ายได้ง่าย • สำหรับแท็งค์น้ำที่อยู่ใต้ดิน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด ต้องมีโครงสร้างรับน้ำหนักที่แข็งแรง เพื่อป้องกันการทรุดตัวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยแท็งก์น้ำที่เหมาะสำหรับการติดตั้งลักษณะนี้ คือ แท็งก์น้ำคอนกรีตและแท็งก์น้ำพลาสติกชนิดติดตั้งใต้ดิน แล้วต้องใช้แท็งค์น้ำขนาดเท่าไหร่ ?

โดยเฉลี่ยแล้ว หนึ่งคนจะใช้น้ำอยู่ที่ประมาณ 200 ลิตร/วัน/คน ซึ่งหมายความว่าแท็งค์น้ำก็ควรคิดจากปริมาณของสมาชิกในบ้านคูณด้วยปริมาณการใช้น้ำต่อวัน (เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วควรคูณด้วย 2 อีกที เผื่อสำหรับน้ำไม่ไหลมากเกิน 1 วัน)


*** 200 ลิตร (ปริมาณน้ำ /คน /วัน) x จำนวนคนในบ้าน x จำนวนวันที่สำรองน้ำ

คำนวณปริมาณน้ำเพื่อสำรอง
คำนวณปริมาณน้ำเพื่อสำรอง

" การเลือกปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำให้เหมาะสมและพื้นฐานการคำนวณปริมาณการใช้น้ำที่ได้กล่าวมาข้างต้นสามารถนำมาใช้ได้เลยสำหรับผู้ที่กำลังมองหาหรือติดตั้งปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำใหม่ครับ "


  • เกร็ดความรุ้เบื้องต้น การต่อปั๊มน้ำแบบบายพาส / การเลือกกำลังปั๊มและการตรวจเช็ค / วาล์ว คลิก

  • วิธีแก้ปัญหาปั๊มน้ำเบื้องต้นที่พบกันบ่อย คลิก

  • ระบบและการติดตั้งปั๊มน้ำอาคารสูง คลิก

  • วิธีการอ่านกราฟปั๊มน้ำแบบง่ายๆ คลิก

ข้อมูลเพิ่มเติม


Tel. 02-292-1067-70

Line Official : @775ruust

Facebook : LEOpumpThailand

TikTok : Leopumpthailand

ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer









Comments


bottom of page