Search Results
39 items found for ""
- Horizontal Split Case คือปั๊มอะไร และหน้าตาเป็นอย่างไร?
จากที่ทางเราได้พูดถึงปั๊มหอยโข่งในหลากหลายประเภทแล้ว ไม่ว่าจะเป็น End-suction , Submersible pump และ Self priming ยังมีปั๊มอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในแวดวงอุตสาหกรรมบ้านเราหรือก็คือ Horizontal Split Case Pump นั่นเอง ซึ่งปั๊มประเภทนี้จัดเป็นอีกหนึ่งประเภทย่อยของปั๊มหอยโข่งด้วยเช่นกัน แต่ตัวเรือนปั๊มจะมีความพิเศษที่ตัวเรือนถูกแยกออกเป็น 2 ห้อง ทั้งนี้เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่มากขึ้นกว่าปั๊มหอยโข่งแบบทั่วไปนั่นเอง ต่อไปนี้เราจะมาดูกันว่า Horizontal Split Case คือปั๊มอะไร และหน้าตาเป็นอย่างไร ? ปั๊มสปลิทเคส ( Horizontal Split-Case) แปลตรงตัว คือ เรือนปั๊มที่ถูกแบ่งในแนวนอน เป้นเรือนด้านบนและเรือนด้านล่าง ไม่เหมือนปั๊ม End-Suction ที่เปิดฝาหน้าและฝาหลัง ปั๊มสปลิทเคสมีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า Double End Suction Centrifugal Pump เนื่องจากใบพัดที่ดูดทั้งสองด้านไม่เหมือนใบพัดทั่วไป หรือที่บางครั้งเราเรียกกันว่าปั๊มหอยทากนั่นเอง ใบพัดที่ดูดทั้ง 2 ทางนั้นจะวางอยู่ตรงกลางตัวเรือนปั๊ม โดยมีลูกปืนรับแรงอยุ่ที่ปลายเพลาทั้ง 2 ฝั่ง ข้อดีของปั๊ม Split Case ที่เหนือกว่าปั๊ม End-Suction 1. อัตราการส่งไกล และปริมาณการส่งน้ำของปั๊ม Split Case จะสูงกว่า End-Suction มาก โดยสามารถสามารถส่งน้ำได้สูงสุดที่ 46,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อชั่วโมง และส่งไกลสูงสุดได้ถึง 225 เมตร เหมาะสำหรับงานดับเพลิง ระบบชลประทาน และระบบที่ใช้น้ำปริมาณสูง 2. การซ่อมบำรุงของปั๊ม Split Case นั้นสะดวกมากกว่า เพราะตัวเรือนปั๊มสามรถยกออกทางด้านบนได้เลย โดยไม่ต้องไปยุ่งกับท่อใดๆ แต่ปั๊ม End-Suction นั้นจะมีแบบเปิดฝาด้านหน้า หรือด้านหลัง ถ้าหากเราจะรื้อปั๊มออกมาซ่อมบำรุง จำเป็นต้องทำการเคลื่อนย้ายท่อเสียก่อน 3. เนื่องด้วยตัวเรือนที่มีความพิเศษจึงทำให้ปั๊ม Split case นี้มีจุดเด่นในเรื่องของความสมดุล (Balance) ที่มากขึ้นด้วยการออกแบบ Between-the-bearings pump หรือก็คือการใส่ลูกปืนประกบทั้ง 2 ด้านของใบพัดเพื่อเพิ่มความสมดุลของเพลาที่รองรับน้ำหนักของใบพัดDouble suction impeller เป็นความพิเศษอีกหนึ่งอย่างของปั๊มประเภทนี้ ด้วยการออกแบบลักษณะใบพัดแบบดูดสองทาง Double suction ทำให้ตัวเพลามีความสมดุลมากขึ้น เพื่อรองรับการใช้ลูกปืนถึง 2 ตลับและทำให้ปั๊มไม่รับภาระของ Load มากเหมือนปั๊มหอยโข่งนั่นเอง 4. การที่ปั๊ม Split Case นั้นมีใบพัดที่อยู่ตรงกลางระหว่างลูกปืนนั้น ทำให้ปั๊มสามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้มาก เนื่องจากมีลูกปืนคอยซัพพอร์ทแรงสั่นสะเทือนอยู่ที่ปลายเพลาทั้งสองด้านนั่นเอง ข้อด้อยของปั๊ม Split Case 1. ปั๊ม Split Case นั้นมีราคาค่อนข้างสูง แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาปั๊มระยะยาวนั้น ปั๊ม Split Case จะคุ้มค่ากว่าปั๊ม End-Suction 2. ปั๊ม Split Case มีรูปร่างที่อ้วนและใหญ่ จึงต้องการใช้พื้นที่ในการติดตั้งมากกว่าปั๊ม End-Suction “Horizontal split case“ เมื่อประกอบรวมแล้ว จะส่งพลังงาน และทำหน้าที่ได้อย่าง สมบูรณ์ และเป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิด Horizontal split case pump เครื่องสูบน้ำชนิดนี้เหมาะสำหรับปริมาณการสูบน้ำน้อยไปจนถึงปริมาณสูบน้ำมาก และควรเลือกใช้ในกรณีที่ระดับน้ำในบ่อพักน้ำอยู่สูงกว่าตัวปั๊ม ในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ติดตั้ง priming tank เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิงสามารถสูบน้ำได้ตลอดเวลา ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- Water Hammer คืออะไร?
Water Hammer คืออะไร? Water Hammer หรือ ค้อนน้ำ หนึ่งในศัพท์เรื่องน้ำในบ้านที่ผู้ใช้น้ำควรรู้ไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดขึ้นและรู้วิธีรับมือเบื้องต้น Water Hammer เกิดจากการที่น้ำในท่อถูกปิดกะทันหัน ทำให้แรงดันในท่อเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือ สมมติว่าเปรียบคนเป็นน้ำ และท่อเป็นทางเดิน หากทุกคนเดินตามกันไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากอยู่ดี ๆ เกิดมีสิ่งของมาปิดทาง ขวางทางไว้ทำให้คนหยุดเดินแบบกระทันหัน คนที่เดินตามๆกันมาก็จะชนกัน ด้วยแรงส่งจากการเดินจึงเกิดแรงปะทะเมื่อหยุดนิ่งเฉียบพลัน ท่อจึงเกิดจากสั่นไหว ไป-มา และเกิดเสียงดันขึ้นนั่นเอง ซึ่ง Water hammer ก็คือ แรงที่สามารถสร้างความเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับความเป็นของไหลอัดตัวไม่ได้ของน้ำ ปรากฏการณ์ดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นเมื่อเติมน้ำในท่อเปล่าหรือการปิดวาล์วโดยกระทันหันอย่างรวดเร็ว โดยจะทำให้เกิดเสียงดังในท่อหรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อท่อ วาล์ว ฯลฯ การเพิ่มแรงดันเฉียบพลัน จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำเปลี่ยนโมเมนตัมอย่างรวดเร็วในระบบปิดเนื่องจากน้ำเป็นของไหลที่อัดตัวไม่ได้ พลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ไม่มีที่จะไป หากวาล์วถูกปิดโดยกะทันหัน นี่สามารถทำให้เกิดคลื่นแรงดันที่กระทำต่อท่อ ทำให้เกิดเสียงดังหรือในบางกรณีทำให้ท่อเสียหายได้เช่นกัน ซึ่งสำหรับอาคารสูงนั้นเราจะเห็นว่า water hammer จะเกิดขึ้นบ่อย เนื่องจากความแตกต่างของความสูงซึ่งทำให้จำเป็นต้องใช้แรงดันและความเร็วที่สูงในช่วงการเริ่มต้นสร้างแรงดัน ในการใช้งานสำหรับอาคารเชิงพาณิชย์ ซึ่งสำหรับการต่อปั๊มน้ำอาคารสูง " คลิก " Water Hammer กลายเป็นความเสี่ยงเมื่อวาล์วถูกปิดอย่างรวดเร็วในระบบท่อ non-return valve จึงมักจะถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้คลื่นแรงดันไปถึงปั๊มเพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายต่อเครื่องสูบน้ำ ในวาล์วโซลินอยด์บางชนิด ระยะเวลาในการปิดสามารถยืดให้นานขึ้นได้จึงสามารถลดผลกระทบของ Water Hammer ได้ และในการใช้งานที่จำเป็นต้องมีการปิดวาล์วอย่างรวดเร็วก็สามารถติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับแรงกระแทก (shock absorber) เช่น ถังไดอะแฟรม ก็จะสามารถช่วยลดผลกระทบจากการเกิดค้อนน้ำ (water hammering) ได้เช่นกัน การเพิ่มแรงดันแบบช้าๆ การเกิดค้อนน้ำ (Water hammering) เป็นความเสี่ยงในช่วงการเติมน้ำในระบบท่อที่ยังไม่มีน้ำเช่นกัน Water Hammer เกิดขึ้นเมื่อท่อเต็มและของไหลหยุดการเคลื่อนไหวโดยฉับพลัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Water Hammer ดังกล่าวจึงควรเติมน้ำในระบบอย่างช้าๆ และค่อยๆ ให้แรงดันในระบบเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาที่นานขึ้น ระบบเพิ่มแรงดันบางระบบจะมีฟังก์ชันเพิ่มแรงดันและสามารถตั้งโปรแกรมให้ลดความเสี่ยงของการเกิด Water Hammer ได้ ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- Reverse Osmosis หรือ RO คืออะไร?
ระบบ Reverse Osmosis คือ การกำจัดสิ่งปนเปื้อนออกจากน้ำโดยใช้แรงดันจาก ปั๊มน้ำ สำหรับอัดเข้าเมมเบรน ชนิดพิเศษที่มีรูพรุนขนาดเล็กมาก (ละเอียด 0.0001) ไมครอน เพื่อเป็นการปิดกั้นสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ไม่ให้ผ่านออกไปได้ เช่น เชื้อไวรัส , สารตะกั่ว , สารหนู , ยาฆ่าแมลง , ปุ๋ยเคมี สามารถกำจัดสารเคมีโลหะหนักและเชื้อโรคต่างๆ ในน้ำได้มากถึง 95 % Reverse Osmosis หรือ RO คืออะไร? ระบบ RO ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีการกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังได้รับการรับรองจาก EPA (Environmental Protection Agency – USA) ซึ่งเป็นองค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาว่าสามารถกำจัดสิ่งปนเปื้อน และสารพิษต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะน้ำ RO มีความสะอาด รวมถึงมีรสชาติที่ดอีกด้วย หลักการทำงานของ Reverse Osmosis (RO) ก่อนที่น้ำจะไปถึงไส้กรอง RO จะต้องผ่านไส้กรองด่านหน้าก่อน ซึ่งจะเป็นไส้กรองสำหรับกำจัดตะกอน และคลอรีน เพื่อไม่ให้สิ่งสกปรกเหล่านี้ ไปอุดตันหรือสร้างความเสียหายให้กับไส้กรอง RO ซึ่งการจะเป็นการดี ถ้าเรามีไส้กรองด้านหน้า 3 อัน ได้แก่ ไส้กรอง PP, ไส้กรองคาร์บอน และไส้กรองเรซิ่น เมื่อน้ำไหลผ่าน 3 ชั้นนี้แล้ว น้ำจะถูกปั๊มอัดแรงดัน ดันน้ำเข้าสู่ไส้กรอง RO หลังจากผ่านไส้กรอง RO มาแล้วก็จะเจอกับ ไส้กรอง Post Carbon ตัวนี้จะทำหน้าที่กำจัด สี กลิ่น คลอรีน และปรับรสชาติของน้ำให้น่าดื่มเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งขั้นตอนการกรองน้ำในแต่ละขั้นจะเป็น ดังนี้ 1. ไส้กรอง PP Sediment Filter : ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกขนาดเล็กที่ปนเปื้อนมากับน้ำ เช่น ฝุ่น ตะกอน สารแขวนลอย เป็นขั้นตอนที่ 1 ของการกรองน้ำ 2. ไส้กรอง Pre-Carbon / Block Carbon Filter : ทำหน้าที่กรองคลอรีน กลิ่น สี กำมะถัน สารอินทรีย์ และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ที่ปะปนมากับน้ำเป็นขั้นตอนที่ 2 ของการกรองน้ำ หากขาดไส้กรอง 2 ขั้นตอนแรก ไส้กรอง RO จะอุดตันเร็วมากๆ 3. ไส้กรอง Resin / Ion Exchange Filter : ทำหน้าที่ดักจับหินปูนที่ปะปนมากับน้ำ และกำจัดความกระด้างของน้ำ เป็นขั้นตอนที่ 3 ของการกรองน้ำ หากขาดขั้นตอนนี้จะทำให้น้ำมีความกระด้าง ดื่มแล้วรู้สึกไม่ลื่นคอ 4. ไส้กรอง RO Membrane : กรองสารละลายมวลรวม (Total Dissolve Solids หรือเรียกย่อๆว่า TDS) จะทำให้น้ำ ปราศจากเชื้อโรค ไวรัส สิ่งสกปรกและสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสารหนู ตะกั่ว แบคทีเรีย จึงมั่นใจได้ว่าน้ำที่ผ่านจาก ระบบ RO เป็นน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์สูงสุด เนื่องจากระบบอื่นไม่สามารถกรองละเอียดถึงระดับไวรัสได้ 5. ไส้กรอง Post Carbon : ทำหน้าที่กำจัดกลิ่น สี สารเคมีปนเปื้อน และสารกัมมันตรังสี รวมถึงปรับรสชาติของน้ำให้มี ความเป็นธรรมชาติและน่าดื่ม น้ำจากระบบ RO ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน หลังจากน้ำผ่านการกรองครับทุกขั้นตอนแล้ว น้ำจะถูกเก็บไว้ในถังแรงดันเพื่อสำรองน้ำจนกว่าจะเต็มถัง ระบบ RO ก็จะปิดการทำงาน และเมื่อเวลาเราเปิดก๊อกน้ำ น้ำก็จะไหลจากถังออกมาสู่ก๊อกน้ำที่เราเปิด ระบบ RO มีการแบ่งน้ำออกเป็น 2 ส่วน น้ำดี – เป็นน้ำที่ผ่านการกรองเพื่อใช้ดื่ม มีประมาณ 30-40% น้ำทิ้ง – เป็นน้ำที่มีสารปนเปื้อนหลงเหลือ โดยน้ำส่วนนี้จะไหลออกไปอีกสายหนึ่งเพื่อลงท่อน้ำทิ้ง จึงต้องมี Flow Restrictor เพื่อช่วยจำกัดอัตราปริมาณน้ำทิ้งเพื่อช่วยประหยัดน้ำ ทำไมต้องมี ถังแรงดัน? ถังแรงดัน RO เปรียบเสมือนถังน้ำสำรองของระบบ RO เพราะการผลิตน้ำของระบบ RO จะปล่อยน้ำออกมาอย่างช้าๆ ใช้เวลานานกว่าระบบอื่นค่อนข้างมาก หากมีการใช้น้ำอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการสำรองน้ำเลย เราจะไม่สามารถใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ามีถังแรงดันจะทำให้เราสามารถใช้น้ำต่อเนื่องได้เลย โดยไม่ต้องรอ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณถังแรงดันด้วยว่ามีขนาดกี่ลิตร เราควรดื่มน้ำจากระบบ Reverse Osmosis ไหม? ถึงแม้ว่าน้ำที่ได้จากระบบ Reverse Osmosis (RO) จะกำจัดแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมออกจากน้ำไปด้วย แต่ก็ไม่ได้ทำให้น้ำ RO ส่งผลเสียกับเรา เราดื่มน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับร่างกาย หล่อลื่นข้อต่อ เพราะร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำ 70-80% ด้วยกัน ดังนั้นเราควรดื่มน้ำจากระบบ RO ไหม ? ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราเอง ไม่มีอะไรน่ากังวล " อายุการใช้งานของไส้กรองน้ำ RO " ไส้กรองน้ำแต่ละชนิด มีอายุการใช้งานแตกต่างกันครับ อย่างไส้กรองน้ำ PP Sediment, ไส้กรองน้ำ Pre-Carbon, ไส้กรองน้ำ Resin และไส้กรองน้ำ Post Carbon จะมีอายุการใช้งานประมาณ 6-8 เดือน ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำของแต่ละพื้นที่ แต่ไส้กรองน้ำ RO มีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี " ข้อดีของระบบ Reverse Osmosis " เป็นระบบการกรองที่มีความสะอาดที่สุด กรองน้ำได้ละเอียดมากถึง 0.0001 ไมครอนนิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดตามท้องตลาด, ยา, วงการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ,และทุกวงการที่ต้องการความสะอาดของน้ำเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา น้ำบาดาล น้ำกร่อย หรือน้ำอะไรก็ตามที่ผ่านระบบ RO สามารถนำไปใช้บริโภคได้ทันที ในการนำระบบกรองน้ำ RO เข้ามาใช้ ทำให้มั่นใจได้ว่าสินค้าและบริการจะมีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ กำจัดสารละลายมวลรวม หรือของแข็งที่อยู่ในน้ำ ( Total Dissolve Solids หรือเรียกย่อๆว่า TDS) จนกลายเป็น 0 ได้แก่ - สารเคมีที่เป็นพิษและอันตรายต่อร่างกาย - คลอรีนที่มีกลิ่นเหม็น - โลหะหนัก สารตกค้าง สารปนเปื้อน สารพิษ - เชื้อโรค แบคทีเรีย ฝุ่น ผง ละออง - แร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม และอื่นๆที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ทำให้น้ำมีรสชาติดี ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะกับการดื่มน้ำและใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆที่ใช้น้ำในการผลิต เช่น ยา อาหารและเครื่องดื่ม น้ำแข็ง ที่สำคัญไม่ว่าแหล่งน้ำเราจะเป็นน้ำประปา น้ำบาดาล หรือน้ำกร่อยก็ใช้ระบบนี้กรองได้ทั้งหมด เป็นระบบกรองที่มีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับมากที่สุด เพราะสะอาด ปลอดภัย และรสชาติอร่อย ทำให้เป็นที่นิยมในวงกว้าง และใช้งานได้หลากหลาย >> บทความเริ่มต้นธุรกิจน้ำดื่ม << ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand
- บอยเลอร์ (Boiler) คืออะไร ? มีกี่ประเภท ?
ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมาก ล้วนใช้หม้อต้มไอน้ำกับแทบทั้งสิ้น เราจึงจะมาดูกันว่าหม้อต้มไอน้ำของโรงงานเหล่านี้มีกี่แบบ กี่ประเภท และทำไมโรงงานส่วนมากจึงต้องมีหม้อต้มไอน้ำ บอยเลอร์ (Boiler) คืออะไร ? บอยเลอร์ (Boiler) หรือเครื่องผลิตไอน้ำ คืออะไร ? บอยเลอร์ คือ เครื่องผลิตไอน้พ ซึ่งเครื่องผลิตไอน้ำเหล่านี้จะเผาไหม้เชื้อเพลิงในหม้อผลิตไอน้ำ จึงทำให้มีไอน้ำและแรงดันในหม้อผลิตไอน้ำเกิดขึ้นมา ซึ่งแรงดันเหล่านี้จะถูกส่งไปใช้กับเครื่องจักรต่างๆภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง ส่วนขนาดของบอยเลอร์จะขึ้นอยู่กับจำนวนพลังงานแรงดันที่เครื่องจักต่างๆ จำเป็นที่จะต้องใช้ ซึ่งหม้อไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็คือ เครื่องผลิตไอน้ำนั่นเอง เครื่องผลิตไอน้ำเหล่านี้จะทำจากวัสดุปิดที่มีขนาด 2 ลิตร ขึ้นไป และมีความดันมากกว่า 1.5 เท่าของบรรยากาศ โดยจะเปลี่ยนน้ำภายในหม้อต้มให้กลายเป็นไอน้ำนั่นเอง เครื่องผลิตไอน้ำนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับการขับเคลื่อนเครื่องจักต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรขนาดเล็กหรือใหญ่ ในกิจการโรงงานหรือกิจการอุตสาหกรรมนั้น นิยมใช้เครื่องผลิตไอน้ำในการผลิตพลังงาน ซึ่งถ้าหากบอยเลอร์มีขนาดใหญ่มากๆ โดยมากจะใช้แก็สเป็นเชื่อเพลิงในกาผลิตพลังงานไอน้ำ เป็นต้น หม้อไอน้ำส่วนใหญ่จะผลิตมาจากวัสดุเหล้กกล้า ( Carbon Steel ) เป็นหลัก โครงสร้างจะต้องถูกออกแบบตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานสากล โดยไอน้ำที่ผลิตขึ้นมานั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่น · นำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า ( Electricity Power ) · นำไปใช้ในการผลิตกำลังทางกล ( Mechanical power from steam turbine ) · นำไปใช้สำหรับอุตสาหกรรมอบแห้ง ( Dry out ) · นำไปใช้เป็นความร้อนในกระบวนการฆ่าเชื้อ หรือพาสเจอไรซ์ต่างๆ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าหม้อไอน้ำนั้น ค่อนข้างใช้ได้ครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ไปจนถึงอาคารและโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งหม้อไอน้ำเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานและการออกแบบทางวิศวกรรมอย่างถูกต้อง รวมถึงผู้ควบคุมหม้อไอน้ำเหล่านี้ต้องเป็นวิศวกรที่ได้รับการรับรองและตรวจสอบอีกด้วย ประเภทของหม้อไอน้ำ หม้อไอน้ำนั้นมีมากมาย หลายชนิด แต่ว่าโดยมากแล้วเราจะเป็น 2 แบบ หลักๆ คือ หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ ( Fire Tube Boiler ) และ หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ ( Water Tube Boiler ) และที่เหลืออาจจะเป็นแบบ Hybrid คือ แบบผสมที่เป็นท่อไฟและท่อน้ำ โดยหม้อไอน้ำทั้ง 2 แบบ คือ แบบท่อไฟและท่อน้ำนั้น จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้งานตามอุตสาหกรรมนั้นๆ 1. หม้อไอน้ำแบบที่ไฟ ( Fire Tube Boiler ) หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ ( Fire Tube Boiler ) เป็นหม้อไอน้ำที่มีไฟอยู่ในท่อ และมีน้ำอยู่ด้านนอก โดยหม้อไอน้ำชนิดนี้จะมีห้องเผาไหม้และไฟถูกส่งไปตามท่อไฟ จะมีการแลกเปลี่ยนความร้อนจากไฟไปสู่ท่อ และจากท่อไปสู่น้ำ ซึ่งการออกแบบของท่อไฟจะมีแบบไหลทางเดียว ไหลสองกลับ ไหลสามกลับ และแบบไหลสี่กลับ โดยทั่วไปแล้วความดันของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟจะไม่เกิน 150 psi และมีกำลังการผลิตต่ำกว่า 15 ตัน / ชั่วโมง โดยสามาถใช้งานได้ตั้งแต่งานหัวจักรรถไฟ , เรือกลไฟ , โรงสีไฟ , โรงงานกระดาษ , โรงงานอาหารสัตว์ , โรงงานผลไม้กระป๋อง เป็นต้น ข้อดี ของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ ปริมาณน้ำเยอะ ทำให้การส่งจ่ายไอน้ำค่อนข้างเสถียร ราคาถูก ไม่ต้องการน้ำที่มีคุณภาพดีมากนัก ข้อเสีย ของหม้อไอน้ำแบบท่อไฟ การจุดเตาใช้เวลานาน ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนต่ำ เนื่องจากมีการสะสมของพลังงานความร้อนในน้ำสูงมาก กรณีเกิดความผิดพลาด เช่น เกิดการระเบิด จะมีอันตรายมาก ไม่สามารถผลิตไอน้ำที่มีความดันและปริมาณสูงได้ 2. หม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ ( Water Tube Boiler ) โดยมากหม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่เรามักเห็นกันจะเป็นชนิดหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ โดยหม้อไอน้ำแบบนี้ น้ำจะอยู่ในท่อ และมีไฟอยู่ด้านนอก ซึ่งหลักการทำงาน คือ ในเตาเผาจะมีไฟอยู่ด้านนอก ไฟจะถ่ายเทอความร้อนไปสู่ท่อ และท่อจะถ่ายเทอความร้อนไปยังน้ำที่อยู่ภายในท่อ หม้อไอน้ำประเภทนี้สามารถทำความดันได้มากกว่า 150 psi และมีกำลังการผลิตที่สูงมาก โดยหม้อไอน้ำประเภทนี้โดยมากจะใช้กับ เครื่องกังหันไอน้ำ , โรงงานน้ำตาล , โรงกลั่นน้ำมัน , ปิโตรเคมี , หรือเรือเดินทะเลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งลักษณะการออกแบบหม้อไอน้ำประเภท Water Tube Boiler มีอยู่หลายแบบด้วยกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานความร้อน เช่น แบบท่อน้ำธรรมดา , เตา WHBT , เตา HRSG , เตา Biomass , และเตาปฏิกรนิวเคลียร์ เป็นต้น ข้อดี ของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ มีระบบการไหลเวียนของน้ำที่ดี ประสิทธิภาพการถ่ายเทอความร้อนสูง การจุดเตาใช้เวลาสั้น ผลินความดันได้สูง อัตราการผลิตไอน้ำสูง กรณีเกิดความผิดพลาด เช่น เกิดการระเบิดจะปลอดภัยกว่าแบบท่อไฟ เนื่องจากมีการสะสมพลังงานไม่สูง เพราะ มีท่อหลายเส้น ข้อเสีย ของหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ ราคาสูง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ถ้าการใช้งานไม่คงที่ ไอน้ำจะไม่เสถียรไปด้วย น้ำที่ใช้ต้องมีคุณภาพ เพราะอาจจะเกิดตะกรันได้ อุปกรณ์ของหม้อไอน้ำโดยทั่วไป หม้อไอน้ำนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงาน เพื่อประสิทธิภาพนการทำงาน รวมถึงความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเราจะมาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงระบบนิรภัยกันจ้า วาล์วนิรภัย ( Safety Valve ) หรือ PSV ซึ่งจะเปรียบเสมือนเป็นวาล์วนิรภัยในการระบายความดันออกจากหม้อไอน้ำ ในกรณีที่มีความดันเกินค่าที่เราออกแบบไว้ ซึ่งจะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความดัน และปริมาณการระบายออกด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดสำหรับความปลอดภัยในกการใช้งาน วาล์วจ่ายน้ำ ( Main Steam Valve ) เป็นวาล์วใช้ เปิด - ปิด ไอน้ำที่ได้จากการผลิต เพื่อนำไปใช้ในส่วนต่างๆของโรงงาน วาล์วระบายน้ำทิ้ง ( Blow Down Steam ) เป็นวาล์วระบายน้ำด้านล่าง เพื่อนำเศษตะกรันออกไปจากหม้อไอน้ำ เพื่อทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพ ปั๊มน้ำเข้า ( Feed Water Pump ) เป็นปั๊มน้ำแรงดันสูงที่คอยป้อนน้ำเข้าไปภายในหม้อไอน้ำ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นปั๊มน้ำหลายใบพัด หรือ Multistage Pump 5. อุปกรณ์ควบคุมระดับน้ำ ( Water Level Gauge / Control ) ใช้สำหรับมอนิเตอร์ระดับน้ำภายในหม้อน้ำ และคอยควบคุม ระดับน้ำในหม้อไอน้ำ 6. เกจวัดความดัน ( Pressure Guage ) เพื่อมอนิเตอร์ความดันหม้อไอน้ำ 7. สวิตช์ควบคุม ( Pressure Switch ) สวิตช์สำหรับควบคุมความดันภายในหม้อไอน้ำ 8. หัวเผา ( Burner ) อุปกรณ์หัวเผาจะทำให้เกิดเปลวไฟ ซึ่งเกิดจากการสับดาบระหว่าง เชื้อเพลิงและอากาศ เพื่อที่จะส่งถ่ายความร้อนไปยังน้ำต่อไป 9. ฉนวน ( Insulation ) หุ้มเพื่อป้องกันความร้อนรั่วออกจากหม้อไอน้ำ เพื่อลดการสูญเสียและป้องกันอันตรายจากการใช้งาน ทั้งนี้การใช้บอยเลอร์หรือเครื่องผลิตไอน้ำนั้น เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสำหรับโรงงานและกิจการอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงเป็นการประหยัดพลังงานและรักษ์โลกอีกด้วย แต่ในการใช้งานนั้นจำเป็นอย่างมากที่ผู้ใช้งานจะต้องมีความชำนาญ เชี่ยวชาญ และมีความรู้ในการใช้งานอุปกรณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการใช้งานรวมถึงอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand
- ระบบ HVAC คือ อะไร?
ระบบ “HVAC” หรือที่เรียกกันว่า ระบบปรับสภาวะอากาศ คือ ระบบความร้อน , ความเย็น , และการระบายอากาศขนาดใหญ่กว่าแอร์บ้านทั่วไป ทำให้มีศักยภาพในการถ่ายเทอากาศ เพื่อให้มีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้น จึงเหมาะสำหรับอาคารสำนักงาน , ห้างสรรพสินค้า , บ้านตั้งแต่ 2 ชั้น ขึ้นไป , ไปจนถึงอาคารโกดัง ,โรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อการผลิต ซึ่งต่อไปนี้เราจะมาดูกันว่า ระบบ HVAC คือ อะไร? และใช้งานอย่างไรกันบ้าง ? HVAC คือ อะไร? ระบบ HVAC คือ ระบบปรับสภาวะอากาศ ซึ่งจะจัดการอากาศ เพื่อควบคุมอุณหภูมิ , ความชื้น , ความสะอาด , และการกระจายอากาศ ให้เป็นไปตามที่ต้องการสำหรับพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย H-heating คือ การทำความร้อน , V-Ventilation คือ การระบายอากาศ , และ AC-Air conditioning คือ การปรับอากาศนั่นเอง ระบบ HVAC จะประกอบด้วย 3 ส่วนประกอบสำคัญในระบบ ดังนี้ 1. ความร้อน ระบบท่อสำหรับของเหลวที่นำความร้อน หรือช่องสำหรับเดินระบบท่อ ถ้าหากเป็นระบบ forced air system 2. การระบายอากาศ มีทั้งเป็นแบบธรรมชาติ หรือแบบบังคับ ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ระบบแบบบังคับสำหรับการฟอกอากาศ 3. เครื่องปรับอากาศ คือ การกำจัดความร้อนออกจากภายในสถานที่นั่นเอง โครงสร้างของ HVAC คือ ทั้ง 3 ระบบ จะทำงานควบคู่กันตลอดเวลา เพื่อประสิทธิภาพในการจัดการอากาศ จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่เป็นอุตสาหกรรมในระบบปิด ซึ่งมีลักษณะซับซ้อน หรือสถานที่ที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นนั่นเอง การทำงานของระบบ HVAC คืออะไร ? เป็นแบบไหน? การควบคุมสภาพอากาศภายในห้องที่เหมาะสม จะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการใช้งานห้อง แต่โดยทั่วไปแล้ว อุณหภูมิและความชื้นที่ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย หรือThermal comfort นั้น จะควบคุมอุณหภูมิอยู่ที่ 22-25 องศาเซลเซียส รวมถึงควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ไว้ในช่วง 30-60% RH และอัตราการระบายของอากาศประมาณ 20% ของปริมาณอากาศหมุนเวียนทั้งหมด ส่วนการใช้งานอื่นๆ ตามมาตรฐานของห้องแต่ละรูปแบบจะถูกกำหนดไว้ ดังนี้ 1.การควบคุมอุณหภูมิ ระบบจะควบคุมอุณหภูมิ โดยใช้แผงคอยล์เป็นตัวประสานระหว่างสารทำความเย็นกับอากาศ ซึ่งจะทำให้อากาศภายในและภายนอกเกิดการแลกเปลี่ยนกันเฉพาะความร้อน โดยใช้คอยล์เย็น ดึงความร้อนออกจากอากาศภายในห้อง และใช้คอยล์ร้อน ระบายความร้อนจากสารทำความเย็นที่รับความร้อนมาจากอากาศภายในห้อง ระบายออกสู่ภายนอกห้อง โดยอากาศภายนอกจะเป็นตัวระบายความร้อนออกจากคอยล์ร้อน ซึ่งตามรูปแบบการใช้งาน ห้องแต่ละห้องจะใช้อุณหภูมิที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป เราจึงแบ่งเป็นดังนี้ อุณหภูมิห้องที่ใช้กับมนุษย์ โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมตามมาตรฐาน ASHRAE Standard 55-1992 เป็นช่วงกว้าง ๆ คือ อุณหภูมิ 20-26 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของห้อง และความพึงพอใจของผู้ใช้ อุณหภูมิห้องที่ใช้กับสัตว์ อุณหภูมิร่างกายของสัตว์แต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันไป โดยทั่วไปมักจะออกแบบไว้ที่ช่วง 18-26ºC อุณหภูมิห้องที่ใช้กับพืช ชนิดของพืชจะเป็นตัวกำหนดอุณหภูมิที่ใช้ สามารถออกแบบได้ตั้งแต่การปลูกพืชเมืองหนาวจนไปถึงพืชเขตร้อน ส่วนมากจะคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสมประกอบการออกแบบ อุณหภูมิช่วงที่ใช้ออกแบบ อาจจะใช้ตั้งแต่ 18-40ºC อุณหภูมิห้องที่ใช้กับสาร หรืออุปกรณ์ ในการเก็บสารรวมถึงอุปกรณ์บางชนิด จำเป็นต้องใช้ช่วงของอุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปฏิกิริยาเคมี และลดการเกิดความเสียหายในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 2. การควบคุมความชื้น โดยปกติแล้วในการลดอุณหภูมินั้น แผงคอยล์เย็น จะทำหน้าที่ในการลดอุณหภูมิของอากาศ และลดความชื้นในอากาศควบคู่ไปด้วย เมื่ออากาศกาศกระทบกับคอยล์เย็นที่อุณหภูมิควบแน่น ความชื้นในอากาศ จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ อย่างไรก็ตามสำหรับในในแผงคอยล์เย็น ประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมินั้น จะมีมากกว่าการลดความชื้นในอากาศ จึงต้องทำให้อุณหภูมิถึงจุดที่กำหนดไว้ก่อนที่ความชื้นจะลดลงถึงจุดที่กำหนด ดังนั้น ในการลดความชื้นในอากาศ ดังนั้น แผงคอยล์เย็นที่ยังคงทำงานอยู่จะทำให้อุณหภูมิของห้องลดลงเรื่อย ๆ และต้องมีอุปกรณ์ที่จะเพิ่มความร้อนให้อากาศ มีอุณหภูมิสูงขึ้นให้เท่ากับจุดที่กำหนดไว้ สำหรับการเพิ่มความร้อนนั้นจะมีอยู่หลายระบบ แต่ระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การใส่ขดลวดไฟฟ้า (Electric Heater) เข้าไปในระบบ ซึ่งจะสามารถเติมความร้อนเข้าสู่ระบบได้ทันที ควบคุมง่าย แต่ต้องแลกกับการใช้พลังงานในการทำความร้อนที่เพิ่มขึ้นด้วย 3. การไหลเวียนของอากาศ การไหลเวียนของอากาศ เป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก หากการกระจายอากาศไม่ทั่วถึงจะทำให้เกิดเกิดมุมอับ ซึ่งจะทำให้บริเวณนั้นไม่มีอากาศไหลเวียน เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นเกิดความไม่สบายตัว อึดอัด หรืออาจติดเชื้อจากเชื้อโรคได้ ซึ่งมีการวิจัยว่าในการหมุนเวียนของอากาศในห้องที่เหมาะสมที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆนั้น คิดเป็นอัตราการไหลเวียนของอากาศ ในหน่วยปริมาตรของห้องต่อ 1 ชั่วโมง (Air Chang per Hour, ACH) ซึ่งระบบไหลเวียนอากาศทั่วไป จะออกแบบโดยอ้างอิงสัดส่วนอากาศภายในกับอากาศภายนอก แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ 1. ระบบนำอากาศจากภายนอก เข้ามาผ่านระบบครั้งเดียว (Single Pass Air) เป็นระบบที่ไม่นำอากาศภายในห้องกลับมาหมุนเวียนในระบบอีก เป็นการเอาอากาศภายนอกอาคารทั้งหมดมาผ่านระบบปรับอากาศ แล้วส่งมาใช้ปรับสภาวะอากาศภายในห้อง จากนั้นจะดูดอากาศในห้องทิ้งทั้งหมดออกสู่ภายนอกอาคาร ระบบนำอากาศบางส่วนกลับมาใช้ซ้ำ (Recirculation Air) เนื่องจากในการปรับอากาศต้องใช้พลังงานในการลดอุณหภูมิ และความชื้น ยิ่งถ้าห้องที่มีขนาดใหญ่ ยิ่งจะต้องใช้พลังงานมาก โดยการที่นำอากาศที่ผ่านการปรับอุณหภูมิ และความชื้นแล้วภายในห้อง ประมาณ 80% หมุนเวียนนำกลับมาผสมกับอากาศที่ดูดจากภายนอกบางส่วน ประมาณ 20% จากนั้นก็นำมาผ่านระบบอีกครั้ง 4. ความดันอากาศภายในห้อง ในการควบคุมการปนเปื้อนระหว่างภายในและภายนอก ควรมีความแตกต่างของความดันอากาศ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้น อากาศเป็นของไหลที่สามารถยุบตัวได้ จะไหลจากความดันสูงไปหาความดันต่ำ ซึ่งจากหลักการนี้ในการป้องกันการปนเปื้อน สามารถแบ่งได้ 2 แบบ คือ ห้องความดันอากาศลบ (Negative Pressure Room) เป็นห้องที่มีความดันอากาศต่ำกว่าห้องรอบข้าง หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบห้อง ห้องประเภทนี้จะใช้สำหรับควบคุมเชื้อไม่ให้แพร่กระจายไปยังสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น ห้องสำหรับแยกโรคติดเชื้อทางอากาศ ห้องทดลองเชื้อ เป็นต้น ห้องความดันอากาศบวก (Positive Pressure Room) เป็นห้องที่มีความดันอากาศสูงกว่าห้องรอบข้าง หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบห้อง ห้องประเภทนี้ จะใช้สำหรับป้องกันเชื้อจากภายนอกเข้ามาปะปนกับอากาศภายในห้อง เช่น ห้องผลิตชิ้นส่วนปลอดฝุ่น ห้องผ่าตัด ห้องปลอดเชื้อสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อง่าย เป็นต้น 5. การกรองอากาศ ในอากาศนั้นปะปนไปด้วยฝุ่นละอองและอนุภาคต่าง ๆ ซึ่งเป็นต้นต่อของหลาย ๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์ กระบวนการผลิต และการคลาดเคลื่อนทางการวิจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะการแพร่กระจายของเชื้อ ซึ่งในการที่จะแยกสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ จำเป็นต้องมีระบบกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องต่ออัตราการไหลของอากาศที่ได้มาตรฐานของห้องแต่ละประเภท โดยมาตรฐานที่ทั่วโลกนั้นยอมรับ คือ การกรองหยาบ (Pre filter) เป็นกรองชั้นแรกที่ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดใหญ่ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และยืดอายุการใช้งานของแผงกรองชั้นถัดไปที่ละเอียดขึ้น การกรองละเอียด (Medium filter) เป็นชั้นที่กรองฝุ่นละออง ได้ถึงประมาณ 95% การกรองละเอียด (HEPA filter) เป็นชั้นสุดท้าย ก่อนที่จะจ่ายลมไปยังห้อง ที่กรองฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก 0.3 ไมครอน ได้ถึงประมาณ 99% ความแตกต่างระหว่าง HVAC กับเครื่องปรับอากาศ ระบบ HVAC กับ เครื่องปรับอากาศ : เครื่องปรับอากาศนั้นเป็นส่วนสุดท้ายของ HVAC แต่มักใช้แทนกันได้ ในการอ้างอิงถึงอุปกรณ์ทำความร้อน หรือความเย็นทุกประเภทในบ้าน เราถือว่า HVAC เป็นคำศัพท์ที่ครอบคลุมทั้งระบบ ส่วนเครื่องปรับอากาศเป็นเพียงชิ้นส่วนหนึ่งของระบบนี้นั่นเอง อายุการใช้งานของระบบ HVAC : อายุการทำงานของระบบ HVAC นั้น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ใช้ว่าระบบจะอยู่ได้นานแค่ไหน มีการบำรุงรักษา หรือดูแลอย่างสม่ำเสมอหรือไม่ หากผู้ดูแล หรือผู้ใช้งานมีการปฎิบัติตามคำแนะนำในการบำรุงรักษา อุปกรณ์นั้นก็จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนานหลายปีเลยทีเดียว การเลือกระบบปรับอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งาน เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในอาคารสำนักงาน หรือขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงโรงงาน ที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม ระบบปรับสภาวะอากาศ HVAC นั้นจะตอบโจทย์กว่า ช่วยในการรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้คงที่ ไปจนถึงระบบกำจัดความชื้น ที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาภายหลังได้อีกด้วย ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand
- วิธีเลือกปั๊มบาดาลแบบละเอียด เป็นอย่างไร มาดูกัน
5 ข้อควรรู้ก่อนเลือกปั๊มบาดาล 1. ขนาดปากบ่อบาดาล 2. ขนาดความลึกของบ่อบาดาล 3. ระดับน้ำในบ่อบาดาล สามารถมองเห็นจากปากบ่อได้ 4. ปริมาณน้ำในบ่อบาดาล 5. ระยะทางส่งน้ำ ส่งไกลกี่เมตร --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรามาดูทีละข้อ สำหรับวิธีเลือกปั๊มบาดาลแบบละเอียดกัน 1.ขนาดปากบ่อ ปั๊มบาดาล LEO : 4XR , 4LPS , 4LPY ( บ่อ 4 นิ้ว ) / 3XR , 3LPS , 3LPY ( บ่อ 3 นิ้ว ) 2. ขนาดความลึกของบ่อที่เจาะ บ่อบาดาลในภาคอีสานโดยมากจะเจาะไม่ลึกมาก , ได้น้ำค่อนข้างเร็ว เช่น 30- 40 เมตร ก็ได้น้ำแล้ว 3.ระดับน้ำที่เอ่อขึ้นมา มองเห็นจากปากบ่อกี่เมตร ? เมื่อเรามองลงไปจากปากบ่อ โดยมากเราจะสามารถเห็นระดับน้ำที่เอ่อขึ้นมา เพราะในบ่อมีแรงดันอยู่ ให้เราวัดระดับน้ำจากปากบ่อถึงระดับน้ำที่เอ่อขึ้นมาว่าลึกเท่าไหร่ ส่วนมากจะเจอที่ 10 , 15 , หรือ 20 เมตร ซะเป็นส่วนใหญ่ สูตรคำนวณ ระดับน้ำจากปากบ่อ + ระยะช่วงสูบน้ำ ( ปกติเราจะเผื่อระยะช่วงสูบ ลึก 20 เมตร ขึ้นไป ) ** หมายเหตุ ห้ามหย่อนปั๊มลงไปจนติดก้นบ่อบาดาล เพราะใบพัดอาจจะติดโคลนและเกิดความเสียหายได้ ต้องเว้นระยะปั๊มไว้ด้วย ต้องอยู่สูงกว่าก้นบ่ออย่างน้อย 5 เมตร ขึ้นไป “ สมมุติว่าเรามีบ่อลึก 40 เมตร ระดับน้ำปากบ่อ คือ 15 เมตร ระยะช่วงสูบเผื่อไว้ 20 เมตร เท่ากับ 15 + 20 = 35 เมตร ดังนั้น เราควรจะหย่อนปั๊มลงไปลึกที่ 35 เมตร “ ** หมายเหตุ 1. ระยะช่วงสูบสามารถเผื่อระยะได้ 15-20 เมตร ขึ้นไป ในกรณีที่เจาะบ่อบาดาลลึกมากๆ เช่น 100 เมตร เราสามารถเผื่อระยะช่วงสูบเพิ่มเป็น 30-40 เมตร ได้ 2. ห้ามหย่อนปั๊มลงไปจนติดก้นบ่อบาดาล เพราะใบพัดอาจจะติดโคลนและเกิดความเสียหายได้ ต้องเว้นระยะปั๊มไว้ด้วย ต้องอยู่สูงกว่าก้นบ่ออย่างน้อย 5 เมตร ขึ้นไป " บ่อลึก 100 เมตร ควรจะหย่อนปั๊มลึกเท่าไหร่ ? " ระดับน้ำปากบ่อ 30 เมตร , ระยะช่วงสูบ 30 เมตร ( เผื่อ 30 เมตร เพราะเจาะลึกมาก ) ดังนั้น 30 + 30 = 60 เมตร เราควรหย่อนปั๊มลึก 60 เมตร 4.ปริมาณน้ำในบ่อบาดาล ( ลิตร / ชม ) ? เราสามารถสอบถามกับช่างเจาะบ่อบาดาลได้เลย โซนอีสานส่วนใหญ่จะเป็น 4 – 8 ลิตร ต่อ ชั่วโมง หรือสามารถดูเองผ่านแอพพลิเคชั่นได้ที่ Application : BADAN4THAI2 "Badan4Thai" พร้อมให้บริการแล้ววันนี้ !! พบกับแอปพลิเคชันโฉมใหม่ ที่กลับมาพร้อมความยิ่งใหญ่อีกครั้ง กับ "Badan4Thai" ที่พัฒนาจากความต้องการของผู้ใช้งานจริง ตอบโจทย์ทุกการใช้งานอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นบริการ ค้นหาบ่อ ช่างเจาะน้ำบาดาล การคำนวณความลึก ราคาค่าเจาะ และอื่นๆอีกมากมาย ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ที่ Play Stored : https://play.google.com/store/apps/details... App Stored : https://apps.apple.com/th/app/badan4thai2/id6444678587?l=th 5.ระยะทางส่งน้ำไกลกี่เมตร ? การคำนวณค่า Head Head 10 เมตร แนวราบ = Head 1 เมตร แนวดิ่ง ดังนั้น 200 /10 = 20 เมตร ตัวอย่าง เจาะบ่อลึก 40 เมตร มองเห็นระดับน้ำจากปากบ่อที่ 15 เมตร ส่งไกลแนวราบเข้าสวน 200 เมตร ต้องเลือกปั๊ม Head เท่าไหร่ ? ระดับน้ำปากบ่อ 15 เมตร + ระยะช่วงสูบ 20 เมตร = หย่อนปั๊มลึก 35 เมตร ส่งไกลแนวราบ อีก 200 เมตร = Head 20 เมตร เพราะฉนั้น รวมการส่งไกล คือ 35 + 20 = 55 เมตร ( ควรใช้ปั๊มน้ำที่มีค่า Head 55 เมตร ขึ้นไป ) บทความรู้เรื่องปั๊มน้ำอื่นๆ คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand
- ชนิดแผงโซล่าเซลล์ เลือกแบบไหนดี? โมโน / โพลี /หรือ อะมอร์ฟัส
ในปัจจุบันกระแสการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เช่นโซล่าเซลล์นั้นเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมาก แต่ว่าแผงโซล่าเซลล์นั้นก็มีหลสยแบบ ทั้งนี้เราควรจะเลือกชนิดแผงโซล่าเซลล์แบบไหนดี เพื่อให้คุ้มค่า คุ้มราคาที่จ่ายไป พร้อมทั้งใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เราสามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้เลยจ้า 1. ลำดับแรกเรามาทำความรู้จักกับ แผงโซล่าเซลล์กันก่อนว่า คืออะไร? แผงโซล่าเซลล์ (Solar panel หรือ Photovoltaics) คือการนำเอา โซล่าเซลล์ จำนวนหลายๆเซลล์ มาต่อวงจรรวมกัน อยู่ในแผงเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้สามารถผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น โดยไฟฟ้าที่ได้นั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) 2. ผลึกซิลิคอน Crystalline Silicon (c-Si) คืออะไร? ในทุกวันนี้ เกือบ 90% ของแผงโซล่าเซลล์ นั้นทำมาจาก ซิลิคอน (Silicon) ซึ่งซิลิคอนนี้อาจจะอยู่ในรูปต่างๆกันไป และ 95% ของแผงโซล่าเซลล์ ที่มีใช้ตามบ้านเรือนนั้น เป็นซิลิคอนที่อยู่ในรูปของผลึกซิลิคอน หรือ crystalline Silicon ความบริสุทธิ์ของเนื้อซิลิคอน เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุด ที่ทำให้รูปแบบของซิลิคอน ที่นำมาใช้ทำโซล่าเซลล์ มีความแตกต่างกันออกไป ด้วยคุณสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีแล้ว ซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์กว่า จะมีโมเลกุลจัดเรียงตัวดีและเป็นระเบียบกว่า และทำให้มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่านั่นเอง ดังนั้น ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ จึงขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของซิลิคอน แต่กระบวนการที่จะทำให้ซิลิคอนมีความบริสุทธิ์นั้นยุ่งยาก มีขั้นตอนที่ซับซ้อน และมีต้นทุนสูง ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์ จึงไม่ใช่สิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึง แต่อาจเป็นเรื่องของราคาต้นทุน ความคุ้มค่าในการลงทุนหรือจุดคืนทุน ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ และขนาดพื้นที่ที่คุณมีอยู่ต่างหากที่จะต้องมาก่อน ผลึกซิลิคอนในแผงโซล่าเซลล์ มี 2 รูปแบบหลักๆ ได้แก่ ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว หรือ โมโนคริสตัลไลน์ ซิลิคอน (monocrystalline Silicon) และ ผลึกซิลิคอนเชิงผสม หรือ โพลีคริสตัลไลน์ ซิลิคอน (polycrystalline Silicon) แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (mono-Si) แผงโซล่าเซลล์ ชนิดที่ทำมาจาก ผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) สังเกตค่อนข้างง่ายกว่าชนิดอื่น เพราะจะเห็นแต่ละเซลล์ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และมีสีเข้ม แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ นั้นเป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยเริ่มมาจากแท่งซิลิคอนทรงกระบอก อันเนื่องมาจาก เกิดจากกระบวนการ กวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process จึงทำให้เกิดแท่งทรงกระบอก จากนั้นจึงนำมาตัดให้เป็นสี่เหลี่ยม และลบมุมทั้งสี่ออก เพื่อที่จะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง ก่อนที่จะนำมาตัดเป็นแผ่นอีกที จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์หน้าตาเป็นอย่างที่เห็นในแผงโซล่าเซลล์ ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผลิตมาจาก ซิลิคอนเกรดดีที่สุด โดยมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 15-20% แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่สูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้งแผงโซลล่าเซลล์ชนิดนี้ โมโนคริสตัลไลน์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่า ของชนิด ฟิล์มบางหรือ thin film แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 25 ปีขึ้นไป แผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากว่าชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เมื่ออยู่ในภาวะแสงน้อย ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ เป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด ในบางครั้งการใช้งาน แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ หรือชนิด thin film มาแทนชนิดโมโนคริสตัลไลน์ อาจมีความคุ้มค่ามากกว่า ถ้าหากแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ มีความสกปรกหรือถูกบังแสงในบางส่วนของแผง อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้เสียหายได้ เนื่องจากภาวะเกิดโวลต์สูงเกินไปหรือ high over voltage แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ เป็นแผงโซล่าเซลล์์ชนิดแรก ที่ทำมาจากผลึกซิลิคอน โดยทั่วไปเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline,mc-Si) โดยในกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ เกิดจากการหลอมซิลิคอนหรือแก้วให้เหลว แล้วมาเทใส่โมลด์หรือแม่แบบที่เป็นสี่หลี่ยม พอเย็นตัวแล้วนำแท่งแก้วสี่เหลี่ยมนั้นมาตัดเป็นแผ่นบางๆ จึงทำให้เซลล์แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม สีของแผงจะออกสีน้ำเงินฟ้าไม่เข้มมาก ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ มีขั้นตอนกระบวนการผลิตที่ง่าย ไม่ซับซ้อน จึง ใช้ปริมาณซิลิคอนในการผลิตน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่มีอุณหภูมิสูงดีกว่า ชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย และมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16% ซึ่งต่ำกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ มีสีน้ำเงิน ทำให้บางครั้งอาจดูไม่สวยงาม เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์ และชนิด thin film ที่มีสีเข้ม เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น หลังคาบ้านได้ดีกว่า (แผงโซล่าเซลล์อะมอร์ฟัส เป็นหนึ่งในหลายชนิด ของแบบฟิล์มบาง) โดยทั่วไปของการผลิต โซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cell, TFSC) คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกันหลายๆชั้น จึงเรียก โซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film ซึ่งสารฉาบที่ว่านี้ก็มีด้วยกันหลายชนิด ชื่อเรียกของ แผงโซล่าเซลล์ ชนิดฟิล์มบางจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดวัสดุที่นำมาใช้ ได้แก่ อะมอร์ฟัส Amorphous silicon (a-Si),Cadmium telluride (CdTe),Copper indium gallium selenide (CIS/CIGS) และ Organic photovoltaic cells (OPC) ด้านประสิทธิภาพ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางนั้นมีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 7-13% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ สำหรับบ้านเรือนโดยทั่วไปแล้วมีเพียงประมาณ 5% เท่านั้น ที่ใช้แผงโซล่าเซลล์แบบชนิดฟิล์มบาง ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่า ชนิดผลึกซิลิคอน ในที่อากาศร้อนมากๆ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง มีผลกระทบน้อยกว่า ไม่มีปัญหาเรื่อง เมื่อแผงสกปรกแล้วจะทำให้วงจรไหม้ ถ้าคุณพื้นมีที่เหลือเฟือ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางก็เป็นทางเลือกที่ดี ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีประสิทธิภาพต่ำ แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำ สิ้นเปลืองค่าโครงสร้างและอุปกรณ์อื่นๆ เช่น สายไฟ ข้อต่อ ไม่เหมาะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะมีพื้นที่จำกัด และการรับประกันสั้นกว่าชนิดผลึกซิลิคอน “ จากข้อมูลข้างต้นคิดว่าใครที่สนใจหรือกำลังตัดสินใจเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์อยู่ น่าจะได้คำตอบในการเลือกซื้อแล้วนะครับว่า ชนิดแผงโซล่าเซลล์ แบบไหนดี? ส่วนการคำนวณค่ากระแสไฟ หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถดูได้จากลิงค์ ด้านล่างเลยจ้า “ การออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน คลิก สอนการคำนวณไฟฟ้าและจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Calculation ) คลิก ระบบโซลาร์แบบ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร? คลิก การเลือกตัว Inverter ปั๊มน้ำ , แผงโซล่าเซลล์และการเผื่อกำลังไฟฟ้า คลิก รู้ไว้ใช่ว่า ก่อนใช้ปั๊มน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- เคล็ดลับการติดตั้งปั๊มหอยโข่งให้น้ำแรง ขจัดปัญหาการใช้งาน
เคล็ดลับการติดตั้งปั๊มหอยโข่งให้น้ำแรง ขจัดปัญหาการใช้งาน มีอะไรบ้างมาดูกันเลยจ้า พื้นที่ต้องทำให้ดี ยึดให้เรียบร้อย ไม่สั่นคลอน การต่อขยายท่อ การขยายท่อปั๊มน้ำหอยโข่งต้องขยายเพิ่มขึ้น 1-2 เท่าของไซส์ท่อ เช่น จากท่อ 2 นิ้ว ขยายเป็นท่อ 3 นิ้ว ไม่แนะนำให้ทำการลดท่อ เช่น จาก 2 นิ้ว เป็น 1 นิ้ว จะไม่เป็นการดีต่อการส่งน้ำ แรงน้ำจะไม่ได้ตามที่ต้องการหรือตามที่สเป็นปั๊มน้ำระบุไว้ของการใช้งาน ข้อต่อท่อควรใช้เป็นข้อต่อแบบคางหมู เพื่อทำให้อากาศไม่สะสมและกีดขวางทางเดินของน้ำ การวางท่อของปั๊มน้ำในแนวนอน ไม่ควรวางแนวตรวจนเกินไป ควรจะวางเฉียงลงมาซักประมาณ 10 องศา เพื่อไม่ให้มีอากาศค้างอยู่และกีดขวางทางดินของน้ำในท่อ การต่อท่อออกจากตัวปั๊มน้ำ ควรต่อท่อให้สั้นที่สุดแต่ต้องไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อน้ำ เช่น ท่อขนาด 2 นิ้ว หรือ 50 mm x 6 จะได้เท่ากับ 300 mm หรือท่อต้องไม่สั้นกว่า 30 cm การต่อท่อในแนวดิ่งไม่ตั้งตรงจนเกินไป ควรวางเฉียงลงไปซักประมาณ 45 องศา เพื่อการดูน้ำที่ดี ไม่มีแรงดันน้ำกดทับจากด้านบนไปถึงด้านล่างมากเกินไป ทำให้ทุ่นแรงในการดูดน้ำและดูดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. หัวกะโหลกปลายท่อดูดน้ำ ควรจะลงไปในน้ำลึกเป็น 4 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อน้ำ และหัวกะโหลกต้องไม่อยู่ติดผิวน้ำจนเกินไป ทั้งนี้ถ้าหัวกะโหลกอยู่ติดผิวน้ำจนเกินไป เมื่อดูดนำจะมีการสั่นสะเทือนทำให้เกิดกระแสน้ำวน ฟองอากาศเพราะน้ำตี และอากาศจะเข้าไปในระบบได้ง่าย หรืออาจเกิด Cavitation ทำให้ใบพัดสึกหรอและเสียหายได้เช่นกัน หัวกะโหลกไม่ควรจุ่มลงไปจนติดพื้นดิน ควรจะห่างจากพื้นดินอย่างน้อย 1 – 1.5 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางท่อน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการดูดสิ่งสกปรกขึ้นมาจากน้ำ หัวกะโหลกต้องมีขนาดใหญ่กว่าท่อน้ำ เช่น ท่อน้ำขนาด 2 นิ้ว ต้องใช้หัวกะโหลกขนาด 3 นิ้ว เป็นต้น ในกรณีที่ใช้น้ำเยอะควรใช้หัวกะโหลกแบบลิ้นกระดก ไม่ใช่บานสปริง เนื่องด้วยการปิด-เปิด เวลาส่งน้ำ ( ความเห็นส่วนตัว ) ข้อสุดท้าย คือ การติดตั้งปั๊มหอยโข่งควรยึดท่อน้ำให้แน่นทั้งแนวราบและแนวดิ่ง รวมถึงตัวปั๊มด้วยเช่นกัน ต้องมั่นคงเพราะเวลาใช้งานจะมีการสั่นสะเทือนทั้งตัวปั๊มน้ำเองและท่อส่ง/ดูดน้ำ บทความรู้เรื่องปั๊มน้ำอื่นๆ คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand
- การติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100%
เมื่อเราเลือกซื้อปั๊มน้ำมาใช้งานแล้วนั้น สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ตัวปั๊มอย่างเดียว การต่อปั๊มน้ำเพื่อใช้งานนั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน การต่อที่ถูกต้องจะทำให้ได้น้ำที่แรงเต็มประสิทธิภาพการจ่ายน้ำของปั๊ม ดังนั้นบทความนี้จะแนะนำสิ่งที่ควร และไม่ควรทำในการต่อปั๊มน้ำ เพื่อการติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100% การลด หรืองอท่อ จะส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของปั๊มเพราะนอกจากการต่อระบบท่อที่ถูกต้องแล้ว การวางแผนในการต่อท่อที่ดี จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของปั๊มได้อีกด้วย ท่อทางน้ำเข้า – น้ำออก ของปั๊มแทบจะทุกชนิด ในระยะการเดินท่อ เราควรลดอุปสรรคและลดแรงเสียดทานแรงดันน้ำในท่อ เพื่อการติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100% ที่เรามุ่งหวัง " ไม่ควรลด หรืองอท่อ " เราไม่ควรทำการ ลดท่อ หรือ งอท่อ ในระยะ 30-45 เซนติเมตร ( จากจุดจ่อที่ตัวปั๊มกับท่อน้ำ ) เพราะจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดูดน้ำขาเข้าและการจ่ายน้ำขาออกของปั๊มน้ำนั้นเอง " รู้จักสเปคปั๊มน้ำ " เราควรศึกษาข้อมูลของปั๊มน้ำชนิดนั้นๆ รวมถึงสเป็คของปั๊มน้ำตัวนั้นๆ ที่สามารถทำได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการในการใช้และไม่เป็นการใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น จากป้ายเนมเพลทบอกสเป็คปั๊มน้ำตามด้านบน เรามาดูข้อมูลหลักๆก่อนว่า ปั๊มน้ำสามารถจ่ายน้ำได้ปริมาณเท่าไหร่และอย่างไร จะเห็นว่า Q= 30-100 ลิตร/นาที ค่าตัวเลขช่วง 30-100 ลิตรนั้นจะแปรผันตามระยะการใช้งาน คือ ในช่วง 33-16 เมตร และระยะไกลสุด คือ 36 เมตร ( แนวดิ่ง ) นั่นเอง ในส่วนตรงนี้สามารถดูกราฟของปั๊มน้ำนั้นๆประกอบไปด้วยจะดีมาก วิธีอ่านกราฟ คลิก สำหรับ การติดตั้งปั๊มน้ำให้ได้น้ำแรง 100% การคำนวณการสำรองน้ำเพื่อการใช้งานก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งก็คือการเลือกขนาดแท็งค์น้ำเพื่อการใช้งานนั่นเอง การเลือกปั๊มและแท็งค์น้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายไปกว่าครึ่ง คลิก เมื่อเราไม่มีการสำรองน้ำให้เพียงพอต่ออัตราการใช้น้ำของเรา อาจจะทำให้น้ำแห้งหรือขาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปั๊มน้ำ ในกรณีปั๊มน้ำไม่มีระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ จะทำให้มอเตอร์ทำงานอยู่ตลอดเวลา ทำให้มอเตอร์นั้นไหม้ได้ และหากปั๊มน้ำมีระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ ก็จะทำให้อากาศเข้าไปในปั๊มน้ำ ทำให้ดูดน้ำได้อย่างไม่ต่อเนื่อง และต้องมานั่งไล่อากาศออก เพราะแรงดันจะจ่ายไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการจ่ายน้ำที่ไม่คงที่นั่นเอง ซึ่งขั้นตอนการไล่อากาศนั้นค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร เราจึงควรป้องกันไว้ก่อน ดีกว่ามานั่งแก้ทีหลัง รวมถึงยังมีวิธีการติดตั้งแบบ ” BY PASS ” ซึ่งสำคัญมาก ๆ เพราะ เวลาไฟดับ ปั๊มเสีย จะทำให้เรายังคงใช้น้ำได้เป็นปกติ การต่อปั๊มน้ำแบบ By Pass คลิก อีกครั้ง !! สำหรับสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้และคำนึงถึงเพื่อให้ปั๊มน้ำใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด น้ำแรง 100% 1.ทำความรู้จักสเปคปั๊มน้ำของเราให้ดีที่สุด 2.ต้องคำนวณการสำรองน้ำให้เหมาะกับปั๊มน้ำ 3.ไม่ลดท่อ หรือ งอท่อ ในระยะ 30-45 เซนติเมตร เพื่อลดอุปสรรค และ ลดแรงเสียดทานของแรงดันน้ำภายในท่อ เท่านี้ปั๊มน้ำของเราก็จะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ 100 % รวมถึงประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายด้วยจ้า ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC
ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร ? และความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current: DC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current: AC) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปในทางกลับกัน กล่าวคือ กระแส มันไม่มีขั้ว มีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) 1. สามารถส่งไปในที่ไกลได้ดี กำลังไม่ตก 2. สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำ ลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer) คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง(DC) 1. กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด 2. มีค่าแรงดันหรือแรงเคลื่อนเป็นบวกอยู่เสมอ 3. สามารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้ ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) 1. ใช้กับระบบแสงสว่างได้ดี 2. ประหยัดค่าใช้จ่าย และผลิตได้ง่าย 3. ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังมาก ๆ 4. ใช้กับเครื่องเชื่อม 5. ใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เกือบทุกชนิด ประโยชน์ของไฟฟ้ากระแสตรง(DC) 1. ใช้ในการชุบโลหะต่าง ๆ 2. ใช้ในการทดลองทางเคมี 3. ใช้เชื่อมโลหะและตัดแผ่นเหล็ก 4. ทำให้เหล็กมีอำนาจแม่เหล็ก 5. ใช้ในการประจุกระแสไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่ 6. ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 7. ใช้เป็นไฟฟ้าเดินทาง เช่น ไฟฉาย ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไร ? การที่เราจะเอาไฟบ้านไปชาร์ตมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ต่างๆ เราจำเป็นต้องใช้อแดปเตอร์เพื่อแปลงไฟกระแสฟ้าสลับ (AC) ไปเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ไฟ AC กับ DC ต่างกันอย่างไรนั้น เราอาจจะเห็นบางเคสที่เป็นไฟฟ้า AC เหมือนกันแต่กลับต้องใช้อแดปเตอร์แปลง ซึ่งในส่วนตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นระบบ DC แต่เหตุผลมจากแรงดันไฟฟ้า หรือ voltage ที่ต้องใช้นั้นแตกต่างกัน ไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสสลับ ในงานโซล่าเซลล์ ความแตกต่างและข้อดีข้อเสียไฟ AC-DC วิธีสังเกตุ คือ เวลาเราไปดูฉลากเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้ามี เฮิร์ต (Hz) เช่น 50Hz 60Hz ก็คือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าระบบ AC เพราะระบบ DC จะไม่มีความถี่แบบนี้ ปกติไฟ AC จะมีแรงดันไฟหรือ voltage ที่สูง ตัวอย่างเช่น ไฟบ้านเราจะเป็น 220V ถือว่าเป็นค่าแรงดันที่ค่อนข้างต่ำ บางทีถ้าเราเห็นตามชานเมืองที่มีเสาไฟใหญ่ๆ พวกนี้จะมีแรงดันไฟเป็นหลักหมื่น Voltage และเนื่องด้วยการเชื่อมโยงไฟฟ้าระยะไกลที่มีค่า volt สูง ไม่จำเป็นต้องใช้สายไฟขนาดใหญ่ จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนตรงนี้ได้ ส่วนในระบบไฟฟ้า DC จะใช้ voltage ไม่สูงมาก เช่น 12V 24V 48V และถ้าหากไม่เกิน 30V โดยประมาณ มักจะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่ๆจะใช้ volt ที่สูงขึ้นมา เช่น 300-600V ซึ่งการติดตั้งจะต้องให้ช่างผู้ชำนาญทำ เพราะกระแส DC ที่มีค่า voltage สูงนั้น อันตรายเป็นอย่างมาก ซึ่งในระบบโซล่าเซลล์ขนาดเล็กนั้น เรามักจะใช้ voltage ที่ต่ำ อย่าง 12V 24V เท่านั้น ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นกินไฟเท่ากัน แต่ใช้แรงดันไฟ voltage ที่ต่ำ นั่นหมายความว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นจะกินกระแสไฟหรือ Ampere ที่มากแทน ผลที่ตามมา คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเหล่านั้นจะต้องรับกระแสสูงๆได้ ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นมีราคาที่แพงมากขึ้นตามไป หรือการที่เราออกแบบระบบที่ใช้ค่าแรงดันไฟฟ้า voltage ต่ำ จะยิ่งทำให้ราคาอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นสูงขึ้นนั่นเอง dummies ชนิดแผงโซล่าเซลล์ เลือกแบบไหนดี? โมโน / โพลี /หรือ อะมอร์ฟัส คลิก การออกแบบระบบโซล่าเซลล์เพื่อใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน คลิก สอนการคำนวณไฟฟ้าและจำนวนแผงโซล่าเซลล์ ( Solar Cell Calculation ) คลิก ระบบโซลาร์แบบ On Grid กับ Off Grid ต่างกันอย่างไร? คลิก การเลือกตัว Inverter ปั๊มน้ำ , แผงโซล่าเซลล์และการเผื่อกำลังไฟฟ้า คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand TikTok : Leopumpthailand ตัวแทนจำหน่าย : https://www.leo.co.th/dealer
- ชนิดและวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ DoL / Star Delta
เริ่มจากการทำงานของปั๊มน้ำจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อทำให้มอเตอร์ทำงาน สำหรับ ชนิดและวิธีการสตาร์ทมอเตอร์ นั้น หลักๆ ของการสตาร์ทมอเตอร์เพิ่มเริ่มทำงานนั้นก็จะมีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ แบบ Direct on-line (DOL), Star-Delta และ Soft Start นั่นเอง เพื่อลดการเกิดปัญหาต่างๆที่ตามมาภายหลัง เช่น การเกิด Water Hammer ซึ่งอะไรที่ทำให้เกิด Water Hammer ในระบบท่อ และวิธีไหนที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดไปดูกันเลยจ้า 1. Direct On-line Start-up (DOL) : วิธีนี้เป็นการต่อสายไฟ 3 เฟส เข้ากับมอเตอร์โดยตรง ซึ่งการสตาร์ทอัพแบบนี้จะส่งผลให้ในช่วงแรกมอเตอร์จะกินปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงถึง 6 เท่าของปริมาณปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟสูงขึ้นได้ นอกจากนั้นอีกหนึ่งปัญหาหลักของการสตาร์ทอัพแบบนี้คือ Free wheel start up motor หรือ การหยุดมอเตอร์โดยไม่มีการควบคุมความเร็วหรือค่าแรงบิดของมอเตอร์ ส่งผลให้เกิดการกระชากของแรงดันภายในระบบท่อ (Water Surge) และทำให้เกิด Water Hammer ในเวลาต่อมา ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายในอุปกรณ์ต่างๆรวมถึงตัวปั๊มน้ำได้ 2. Star-Delta Start-up : วิธีสตาร์ทแบบที่ 2 นี้เป็นการต่อไฟโดยให้มอเตอร์เริ่มสตาร์ทแบบ Star ก่อนแล้วค่อยเข้า Delta ซึ่งสามารถลดการกินปริมาณกระแสไฟฟ้าลงจาก DOL ได้ถึง 3 เท่า ทำให้ลดค่าไฟได้ในระดับนึง แต่ในทางกลับกันวิธีสตาร์ทแบบ Star-Delta นี้จะเกิดปัญหาในช่วงสตาร์ทอัพแทน เนื่องจากการสตาร์ทแบบนี้เป็นการลดค่าแรงดันไฟฟ้าในระบบลงประมาณ 42% ส่งผลให้ค่าแรงบิดที่มอเตอร์และค่าแรงบิดของโหลดลดลงไปด้วย จึงเป็นผลทำให้มอเตอร์ไม่สามารถสตาร์ทได้ 3. Soft Starter : เป็นวิธีการสตาร์ทอัพที่สามารถป้องกันปัญหาได้ทั้งหมด ทั้งในเรื่อง Water Hammer หรือแม้กระทั่งการที่แรงบิดไม่พอที่จะสตาร์ทใน Star-Delta เพราะอาศัยหลักการ Voltage Ramp Up ซึ่งก็ คือ การสตาร์ทและหยุดมอเตอร์โดยการค่อยๆ เพิ่ม/ลด ความเร็วรอบไปพร้อมกับค่าแรงบิดของมอเตอร์ ซึ่งเป็นการลดกระแสไฟฟ้า ป้องกันการกระชากของแรงดันในระบบท่อ รวมถึงลดปัญหาเนื่องมาจากค่าแรงบิดไม่พอได้อีกด้วย ในการเลือกขนาดของ Soft start สำหรับงานปั๊มน้ำนั้น สามารถเลือกขนาดเท่ากับขนาดของมอเตอร์ได้เลย เนื่องจาก Load มีค่า moment of inertia ไม่สูงมาก แต่ถ้ามีการ Start และ Stop มากกว่า 10 ครั้งต่อชั่วโมง ควรเลือกขนาดของตัว Soft start ให้ใหญ่กว่าเดิม 1 ขนาด หลักๆในวิธีของการต่อไฟฟ้าเพื่อการทำงานของปั๊มน้ำก็จะเป็นประมาณนี้นะครับ สำหรับในส่วนของ ปั๊มน้ำลีโอ นั้น ปั๊มที่จะใช้วิธีการต่อแบบ Star-Delta นั้น จะเป็นปั๊มที่ค่อนข้างใหญ่ เช่น มีขนาด 7.5 HP ขึ้นไปและเป็นไฟ 3 เฟส รวมถึงราคาของการทำตู้ไฟและปั๊มน้ำก็จะสูงกว่าแบบการต่อแบบธรรมดาระดับนึงเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการเกิดความเสียหายโดย Water Hammer และความเสียหายอื่นๆอีกด้วยจ้า ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand
- บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) และ ทรานส์เฟอร์ปั๊ม (Transfer Pump) เป็นอย่างไร ?
Transfer Pump กับหลักการทำงานของระบบที่ควรรู้ ปัญหาคลาสสิคที่เจอกันบ่อยไม่ว่าจะเป็น ... น้ำไม่แรง น้ำไหลเบา น้ำขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็น ในอพาร์ตเมน โรงแรม โรงงาน อาคารสำนักงาน และอื่นๆ การจะติดตั้งปั๊มน้ำหรือการเลือกใช้อุปกรณ์ปั๊มน้ำต่างๆ นั้นสำคัญมาก เราจะต้องทำความรู้จักประเภทและการเลือกใช้ปั๊มน้ำกันเสียก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำต่างๆ เหล่านี้ที่จะเกิดขึ้น การสูบน้ำจากต้นทางไปปลายทางอาศัยความต่างระดับของระดับน้ำนำมาควบคุมการทำงาน ส่งน้ำจากถังน้ำด้านล่างขึ้นไปถังน้ำด้านบนทรานเฟอร์ปั๊มเป็นการควบคุมใช้ปั๊ม 1 ตัว หรือ 2 ตัวก็ได้ แต่ถ้าใช้ปั๊ม 2 ตัว ตัวคอนโทรลเลอร์จะต้องมี Function สลับการทำงานของปั๊มน้ำด้วย โดยส่วนมากในชุด Transfer Pump จะใช้ปั๊มน้ำ 2 ตัว สำหรับอาคารขนาดเล็ก หรือใช้ปั๊มน้ำ 3 ตัว สำหรับอาคารขนาดใหญ่และให้ปั๊มน้ำสลับกันทำงานเพื่อไม่ให้ปั๊มทำงานหนักจนเกินไป หรือกรณีมีตัวใดตัวนึงใช้งานไม่ได้ ปั๊มน้ำส่วนที่เหลือก็ยังสามารถจ่ายน้ำได้อยู่ หรือให้ปั๊มทำงานเสริมกัน ในกรณีที่ความต้องการใช้น้ำของอาคารมีมากจนปั๊มตัวแรกจ่ายน้ำไม่ทัน ปั๊มตัวที่สองจะได้ทำงานช่วย ซึ่งตัวที่ควบคุมการทำงานของชุด ทรานเฟอร์ปั๊ม มักใช้ลูกลอยไฟฟ้าหรือก้านอิเล็กโตรดในการตัดต่อการทำงานของปั๊ม เรามาดูกันว่า บูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) และ ทรานส์เฟอร์ปั๊ม นั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง คุณลักษณะเด่น 1. สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับท่อจ่ายน้ำขึ้นอาคารได้เลย 2. ลดเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ ส่วนประกอบหลักของชุด transfer 1. ปั๊มน้ำ 2. Control panel 3. Discharge header 4. Check valve 5. Gate valve 6. Float less level switch 7. Pressure gauge 8. Base Plate ข้อควรรู้ในการเลือกปั๊มน้ำสำหรับระบบ Transfer Pump 1.ถังเก็บน้ำขนาดกี่ลิตร/ใบ 2.ขนาดท่อ Main ทางส่ง (กรณีติดตั้งใหม่ สามารถให้ทางผู้จัดจำหน่ายแนะนำขนาดของท่อได้) 3.ตึกจำนวนกี่ชั้น (ถังเก็บน้ำอยู่ชั้นไหน) 4.ความยาวแนวราบไปถึงถังเก็บน้ำ ซึ่งการควบคุมปั๊มน้ำแบบ Transfer Pump นิยมใช้งานอาคารสูง, อพาร์ทเม้นท์, คอนโดมิเนียม, โรงงานอุตสาหกรรม และในภาคการเกษตร เป็นต้น โดยปกติอาคารที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไป และในแต่ละชั้นมีจุดใช้น้ำจำนวนมากมักมีความจำเป็นที่ต้องใช้ชุดปั๊มน้ำเสริมแรงดัน (Booster Pump) ทั้ง 2 ชุดประกอบกัน โดยจะใช้ Transfer Pump ในการส่งหรือเติมน้ำขึ้นไปเก็บบนชั้นดาดฟ้าที่มีถังเก็บน้ำรองรับอยู่ จากนั้นก็ใช้ Booster Pump ในการกระจายน้ำสู่ห้องต่าง ๆ ภายในอาคาร น้ำที่ไปใช้ในอาคารจะมีความแรงของน้ำที่คงที่สม่ำเสมอ วิธีการดูแลบำรุงรักษาสามารถสังเกตุและเช็คค่าต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การทำงานของ Controller ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่เช่น 2. ทุกครั้งที่ตรวจเช็ค หลอดไฟหน้าตู้จะต้องมีไฟโชว์ตลอด หรือไฟ Overload แสดงว่าปั๊มมีปัญหา ให้รีบทำการตรวจเช็คโดยด่วน 3. ฟังเสียงมอเตอร์ว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ 4. สังเกต Seal ที่คอปั๊มว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่ เพื่อให้ปั๊มมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น และไม่มีปัญหาการส่งน้ำเกิดขึ้น เราควรตรวจเช็คระบบทุกๆ 6 เดือน Booster Pump เป็นอย่างไร ? Booster Pump เป็นระบบหนึ่งของเครื่องสูบน้ำ เพื่อใช้สำหรับเสริมแรงดันน้ำ หรือก็คือเพื่อเพิ่มแรงดันในระบบท่อ ซึ่งจะช่วยให้การไหลของน้ำมีความสม่ำเสมอเมื่อเปิดใช้งานนั่นเอง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน ที่พักอาศัยที่จำเป็นต้องใช้งานเป็นจำนวนมาก อาคารและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยหลักการทำงานของบูสเตอร์ปั๊ม คือ เมื่อใดที่เราเปิดใช้งานน้ำ น้ำในท่อที่ไหลออกไปจะทำให้แรงดันในท่อลดลงจนถึงระดับแรงดันที่ได้ตั้งค่าไว้ เมื่อนั้นสวิตช์แรงดัน ( Pressure Switch ) ก็จะสั่งให้ปั๊มน้ำทำงานเพื่อจ่ายน้ำเข้าสู่ระบบ แรงดันก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่ตั้งค่าสวิตช์แรงดันไว้เพื่อให้ปั๊มน้ำหยุดทำงาน เมื่อแรงดันถึงที่ตั้งไว้แล้ว วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งบางกรณีที่พักอาศัยหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความต้องการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก อาจจะออกแบบระบบให้มีปั๊มน้ำ 2 ตัว เพื่อทำงานร่วมกันหรือเสริมแรงกัน โดยปั๊มอีกตัวจะทำงานเสริมเมื่อปั๊มน้ำตัวแรกเพิ่มน้ำเพื่อเติมแรงดันไม่ทัน ซึ่งโดยมากในชุดบูสเตอร์จะใช้ถังแรงดันไดอะแฟรม ( Diaphragm Pressure Tank ) ประกอบด้วยในชุด โดยมีหน้าที่หน่วงการทำงานของปั๊มน้ำ ทำให้ยืดอายุการใช้งานของปั๊มน้ำให้ยาวนานขึ้น ข้อมูลเพิ่มเติม Tel. 02-292-1067-70 Youtube : Leopump ประเทศไทย Line Official : @775ruust Facebook : LEOpumpThailand